การออกแบบเรขศิลป์สำหรับการสร้างอัตลักษณ์ และส่งเสริมภาพลักษณ์ชุมชนกุฎีจีน

ผู้แต่ง

  • แสนชัย ลิขิตธีรวุฒิ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

เรขศิลป์, อัตลักษณ์, ภาพลักษณ์, ชุมชนกุฎีจีน

บทคัดย่อ

การออกแบบเรขศิลป์สำหรับการสร้างอัตลักษณ์และส่งเสริมภาพลักษณ์ชุมชนกุฎีจีน เป็นการวิจัยที่มีความมุ่งหมายสำคัญสองประการ คือ 1) เพื่อสังเคราะห์อัตลักษณ์รูปแบบเรขศิลป์สำหรับชุมชนกุฎีจีน 2) เพื่อสร้างแนวทางการใช้เรขศิลป์ในการสร้างอัตลักษณ์สำหรับชุมชนกุฎีจีน ให้สามารถนำไปใช้ในการสร้างภาพลักษณ์เพื่อการสื่อสารของชุมชนในกิจกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงการสื่อสารที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกชุมชนกุฎีจีน การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในงานวิจัย คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ 3 ท่าน ประธานชุมชนและตัวแทนจากชุมชนกุฎีจีน 2 ท่าน กลุ่มที่ 2 ประชากรในชุมชนกุฎีจีนจำนวน 50 คน กลุ่มที่ 3 ประชากรที่เป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 50 คน โดยการศึกษาจากเอกสาร ภาคสนาม การสนทนากลุ่ม จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เป็นแนวทางในการออกแบบอัตลักษณ์ชุมชน ด้วยกระบวนการกราฟิก ประกอบด้วย ตราสัญลักษณ์, ตัวอักษร, สีอัตลักษณ์ เพื่อนำไปประเมินความพึงพอใจที่มีต่ออัตลักษณ์จากกลุ่มประชากรนักท่องเที่ยวจำนวน 50 คน ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนกุฏีจีน เป็นชุมชนชาวคริสต์ที่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมโปรตุเกสมานานกว่าสองศตวรรษ ยังคงรักษามรดกทางวัฒนธรรมไว้ได้อย่างเข้มแข็ง สามารถนำทุนวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ที่ปรากฏมาใช้เพื่อกำหนดเป็นกรอบแนวคิด บุคลิก ทิศทางในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับสร้างอัตลักษณ์ และส่งเสริมภาพลักษณ์ชุมชนกุฎีจีนให้เด่นชัดขึ้น กลุ่มประชากรได้แสดงความพึงพอใจผลงานการออกแบบเรขศิลป์สำหรับการสร้างอัตลักษณ์ และส่งเสริมภาพลักษณ์ชุมชนกุฎีจีน ในภาพรวมค่าเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับดีมาก

References

จีรพรรณ กาญจนะจิตรา. (2530). การพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2505). สาส์นสมเด็จ เล่ม 21. พระนคร: องค์การค้าคุรุสภา.

ไพโรจน์ ธีระประภา. (2558). ฝากไทย: ถอดรหัสเสน่ห์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ กระทรวงวัฒนธรรม.

วิริยา วิฑูรย์สฤษฎ์ศิลป์. (2548). การศึกษาอัตลักษณ์คนชั้นกลางไทย ผ่านการเล่าเรื่องในสื่อหนังสือบันทึกการเดินทาง. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบอัตลักษณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คอร์ ฟังค์ชั่น.

อารยะ ศรีกัลยาณบุตร.(2541). การออกแบบตราสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาวิน อินทรังษี. (2553). สี กับการออกแบบอัตลักษณ์. วารสารวิชาการศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 3, หน้า 47-58.

อินทิรา พงษ์นาค และศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ (2558). อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 5(3), หน้า 511-523.

Best J.W. & Kahn J.V. (1993). Research in Education. 10th ed. USA: Pearson Education Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2024