กฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ. 2463: ที่มาและผล

ผู้แต่ง

  • ธมาภรณ์ พูมพิจ สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • พรรณี บัวเล็ก สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

กฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า, ศาลเจ้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ. 2463 ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลให้มีการประกาศใช้และผลที่มีต่อศาลเจ้า งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบสหวิทยาการด้วยการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา ศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ การเก็บข้อมูลภาคสนาม งานวิจัยพบว่า 1) กฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้ามีที่มาจากชุมชนจีนในประเทศไทยเคลื่อนไหวแสดงออกถึงความรู้สึกชาตินิยมจีนอย่างรุนแรงรัฐบาลไทยจึงเข้าควบคุม ตรวจตรา และสอดส่องศาลเจ้าซึ่งเป็นพื้นที่กลางของชุมชนไม่ให้ซ่องสุมหรือดำเนินการสมาคมลับในศาลเจ้า รัฐบังคับให้ศาลเจ้ามีผู้จัดการปกครองศาลเจ้าและผู้ตรวจตราสอดส่องศาลเจ้าที่รัฐเป็นผู้แต่งตั้ง ต้องแสดงบัญชีการเงินและผลประโยชน์ของศาลเจ้า รวมถึงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินศาลเจ้าเป็นของรัฐ และ 2) เมื่อศาลเจ้ามีฐานะเป็นศาลเจ้าในปกครองของรัฐได้เปลี่ยนหน้าที่จากกุศลสถานของชาวจีนเฉพาะกลุ่มสำเนียงภาษาเป็นกุศลสถานสำหรับมหาชนในการปกครองของรัฐ กฎเสนาบดีฯ ฉบับนี้บังคับใช้กับศาลเจ้ามากว่าร้อยปีโดยไม่มีการแก้ไข ดังนั้น อาจถึงเวลาที่ต้องพิจารณาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข เพื่อให้กฎข้อบังคับเกี่ยวกับศาลเจ้ามีความทันสมัยเหมาะสมกับหน้าที่ของศาลเจ้าและบริบทสังคมปัจจุบัน

References

กฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ. 2463. (2464, 24 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 38, หน้า 13-23.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2548). คู่มือการปฏิบัติงานทะเบียนศาลเจ้า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2552ก). รายงานการประชุมคณะกรรมการควบคุมตรวจตราสอดส่องกิจการต่างๆ ของศาลเจ้า (คกก.ศจ.) ครั้งที่ 1/2552. ห้องประชุมกรมการปกครอง 1 ชั้น 2 อาคารกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2552ข). รายงานการประชุมคณะกรรมการควบคุมตรวจตราสอดส่องกิจการต่างๆ ของศาลเจ้า (คกก.ศจ.) ครั้งที่ 6/2552. ห้องประชุมกรมการปกครอง 1 ชั้น 2 อาคารกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2563). ทำเนียบศาลเจ้า 100 ปี. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

กระทรวงการต่างประเทศ. (2453, 31 พฤษภาคม-24 มิถุนายน). จีนหยุดงาน. [เอกสารกรมราชเลขาธิการรัชกาลที่ 5]. (ร.5 ต. 21/21). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

กระทรวงนครบาล. (2452, 11 มกราคม-14 กุมภาพันธ์). ลายพระหัตถเลขาเรื่องหนังสือพิมพ์จีน. [เอกสารกรมราชเลขาธิการรัชกาลที่ 5]. (ร.5 น. 8.7/8). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

กระทรวงนครบาล. (2455, 2-30 ธันวาคม). รายงานหลวงธรณีฯ จำนวนเดือน ธันวาคม ร.ศ.131. [เอกสารกรมราชเลขาธิการรัชกาลที่ 6]. (ร.6 น 4.7/36). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

กระทรวงนครบาล. (2464ก, 6-20 กุมภาพันธ์). รายงานแลบาญชีสอบสวนยี่ห้อที่พวกจีนทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา อำเภอจักรวรรดิ ราษฎร์บูรณะ นางเลิ้ง พาหุรัด บุคคโล ป้อมปราบฯ ราษฎร์บูรณะ บางกอกใหญ่. [เอกสารกรมราชเลขาธิการรัชกาลที่ 6]. (ร.6 น 25.1/2). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

กระทรวงนครบาล. (2464ข, 14 กุมภาพันธ์). คำสั่งลับเกี่ยวกับการสั่งให้อำเภอต่าง ๆ สอบสวนเรื่องศาลเจ้า. [เอกสารกรมราชเลขาธิการรัชกาลที่ 6]. (ร.6 น 25.1/3). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

กระทรวงนครบาล. (2466, 22 พฤษภาคม-3 กันยายน). ฎีกาหลวงภักดีภัทรากรกับพวกขอให้เลิกกฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า. [เอกสารกรมราชเลขาธิการรัชกาลที่ 6]. (ร.6 น 1/46). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

กระทรวงมหาดไทย. (2476, 21 พฤศจิกายน-2477, 30 พฤษภาคม). เดิมที่ศาลเจ้กระทรวงมหาดไทยเคยมีหนังสือถึงกระทรวงเกษตร์ฯ ให้เขียนว่า “กรมพลำพัง กระทรวงมหาดไทย(ที่ศาลเจ้า)” บัดนี้ได้มีกฤษฎีกาจัดระเบียบกรมในนามกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2476 ขึ้นใหม่ กระทรวงเกษตร์จึงหารือไปยังกระทรวงมหาดไทย ว่าต่อไปจะให้เขียนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของศาลเจ้าอย่างไร กระทรวงมหาดไทยคาดว่าให้เขียนว่า “กรมมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย...” คำสั่งกรมที่ 22/2476 การเขียนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ศาลเจ้ากรุงเทพมหานครและหัว-เมือง “กรมมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย (ที่ศาลเจ้า....)” หน้าที่ทำการอยู่แก่คณะกรรมการจังหวัด คำสั่งกรมที่ 27/2477 เพิ่มเติมคำสั่งที่ 22/2476 ข้อ 1 วรรค 2 ว่า ถ้าเป็นที่ทำประโยชน์ของศาลเจ้าให้เขียนดังนี้ กรมมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย (ที่ทำประโยชน์ศาลเจ้า...). [เอกสารกรมที่ดิน]. (มท.0601.1/537). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.

ธมาภรณ์ พูมพิจ และพรรณี บัวเล็ก. (2566). การเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของศาลเจ้าจีนในเขตกรุงเทพชั้นใน. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ, 5(1), หน้า 41-54.

พรรณี บัวเล็ก. (2561). ลักษณะของนายทุนไทยในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2457-2482: บทเรียนจากความรุ่งโรจน์สู่โศกนาฏกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457. (2457, 17 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 31, หน้า 229-274.

วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์. (2559). การพัฒนาแนวทางการจัดการองค์การไม่แสวงหากำไร ประเภทศาลเจ้า ในการปกครองของกระทรวงมหาดไทยสู่การเป็นองค์การที่ยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภางค์ จันทวานิช. (2534). รายงานการวิจัยเรื่องชาวจีนแต้จิ๋วในประเทศไทยและภูมิลำเนาเดิมที่เฉาซ่าน สมัยที่หนึ่ง ท่าเรือจางหลิน (2310–2393).กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช. (2565). เทพเจ้าจีน ในกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: มติชน.

เออิจิ มูราชิมา. (2562). ต้นกำเนิดลัทธิชาตินิยมในสังคมชาวจีนในประเทศไทย. วารสารประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์, 6(2), หน้า 19-79.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-08-2024