การออกแบบสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยในรูปแบบระบำจากอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ: ระบำพระราชลัญจกร

ผู้แต่ง

  • สุนันทา เกตุเหล็ก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การออกแบบ, สร้างสรรค์, นาฏศิลป์ไทย, รูปแบบระบำ

บทคัดย่อ

การแสดงนาฏศิลป์ไทยในรูปแบบระบำ เป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทยรูปแบบหนึ่งที่มีความงดงามทั้งในด้านกระบวนท่ารำ เครื่องแต่งกาย และการแปรแถวที่หลากหลายทำให้เกิดสุนทรียะในการแสดง โดยการแสดงในรูปแบบระบำมีจุดมุ่งหมายอยู่หลายประการ ซึ่งการแสดงรูปแบบระบำที่สะท้อนอัตลักษณ์ขององค์กร เป็นรูปแบบหนึ่งที่บ่งชี้ลักษณะเฉพาะขององค์กรผ่านการสร้างสรรค์ในแต่ละองค์ประกอบของศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ไทยได้เป็นอย่างดี ดังการแสดงชุด ระบำพระราชลัญจกร ที่อาจารย์ ดร.สุนันทา เกตุเหล็ก ได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี โดยนำความหมายของสีที่ปรากฏในตราสัญลักษณ์พระราชลัญจกร ได้แก่ สีน้ำเงินที่สื่อถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ สีเขียวที่สื่อถึงสถานที่ตั้งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สีทองที่สื่อถึงความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา สีส้มที่สื่อถึงความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และสีขาวที่สื่อถึงความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์ มาออกแบบสร้างสรรค์ตามองค์ประกอบของการแสดง เช่น บทร้องได้ประพันธ์ในรูปแบบกลอนสุภาพ กระบวนท่ารำใช้การตีความหมายตามบทร้องผสมผสานกับจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ และแต่งกายแบบนางใน โดยยึดสีของเครื่องแต่งกายตามสีที่ปรากฏในตราสัญลักษณ์พระราชลัญจกรที่อยู่บนพื้นฐานของการรักษา สืบสาน และสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ไทย

References

ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2554). ศิลปะการออกแบบท่ารำ (นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์). กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (ม.ป.ป.). ความหมายของสีในตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. สืบค้นจาก https://dru1.dru.ac.th/badge/

สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบอัตลักษณ์: Corporate Identity. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์ลิฟเพรส.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2024