การวิเคราะห์รูปแบบลวดลายศรีวิชัยที่ปรากฏตามอัตลักษณ์ศรีวิชัย เพื่อการประยุกต์ลวดลายใหม่

ผู้แต่ง

  • ตวงรัก รัตนพันธุ์ สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • สุธิรา ชัยรักษา เงินถาวร สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • พิทย์พันธ์ สิทธิรักษ์ สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์รูปแบบลวดลาย, อัตลักษณ์ศรีวิชัย, ประยุกต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบลวดลายศรีวิชัยที่ปรากฏตามอัตลักษณ์ศรีวิชัย 2) เพื่อประยุกต์รูปแบบลวดลายใหม่ โดยวิเคราะห์รูปแบบลวดลายจาก 4 อัตลักษณ์ ประกอบด้วย 1) อัตลักษณ์การแต่งกายสมัยศรีวิชัย 2) อัตลักษณ์สถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัย 3) อัตลักษณ์ศิลปกรรมสมัยศรีวิชัย และ 4) อัตลักษณ์เครื่องราชบรรณาการสมัยศรีวิชัย แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ เอกสารวิชาการทางประวัติศาสตร์ จากหนังสือ ตำรา บทความวิจัย และบทความวิชาการ จำนวน 19 เรื่อง แบ่งเป็นแหล่งข้อมูลในประเทศ จำนวน 13 เรื่อง และแหล่งข้อมูลต่างประเทศ จำนวน 6 เรื่อง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิเคราะห์ เป็นกลุ่มบุคคลที่สามารถยืนยันรูปแบบลวดลายที่ปรากฏตามอัตลักษณ์ศรีวิชัย จำนวน 20 คน ในพื้นที่วิจัย 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดกระบี่ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบลวดลายที่ปรากฏตามอัตลักษณ์ศรีวิชัยมี 2 อัตลักษณ์ ได้แก่ 1) อัตลักษณ์สถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัย สามารถพบรูปแบบลวดลายที่สะท้อนอัตลักษณ์ศรีวิชัยจากสถาปัตยกรรม ได้แก่ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยสะท้อนจากหน้าบันด้านนอกบริเวณซุ้มประตูทางเข้าวัด และหน้าบันด้านนอกบริเวณหน้าพระอุโบสถภายในวัด และหน้าบันด้านในบริเวณพระบรมธาตุไชยา และ 2) อัตลักษณ์ศิลปกรรมสมัยศรีวิชัย สามารถพบรูปแบบลวดลายที่สะท้อนอัตลักษณ์ศรีวิชัยจากศิลปกรรม ได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร โดยสะท้อนจากเครื่องประดับองค์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งอยู่บริเวณ ศีรษะ หน้าอก แขน และข้อเท้า สามารถประยุกต์ลวดลายใหม่ได้ 9 รูปแบบ

References

เกียรติประวัติ ธนรัฐลือสกล. (2555). ตำนาน 77 จังหวัด. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊ค.

กรมศิลปากร. (2559). ถนิมพิมพาภรณ์. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

จันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี, ม.จ. (2539). อาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อรุณวิทยา.

ณัฏฐภัทร จันทวิช. (2559). ศรีวิชัย Srivijaya. กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

นงคราญ ศรีชาย และวรวิทย์ หัศภาค. (2543). โบราณคดีศรีวิชัย: มุมมองใหม่การศึกษาวิเคราะห์แหล่งโบราณคดีรอบอ่าวบ้านดิน. นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์เม็ดทราย.

นันทวุฒิ สิทธิวัง และกิริยา ชยะกุล สิทธิวัง. (2562). ลวดลายในศิลปะศรีวิชัย: รูปแบบการประยุกต์ใช้. วารสารปาริชาต, 32(1), หน้า 117-131.

ประพันธ์ โยธาประเสริฐ. (2511). เครื่องแต่งกายสมัยศรีวิชัยพุทธศตวรรษที่ 13-18. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ปรีชา นุ่นสุข. (2525). หลักฐานทางโบราณคดีในภาคใต้ของประเทศไทยที่เกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัย.นครศรีธรรมราช: กรุงสยามการพิมพ์.

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไชยา. (2563). พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สืบค้นจาก http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chaiya/index.php

พิพิธภัณฑ์หอพุทธศิลป์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2557). ศิลปะศรีวิชัย. สืบค้นจาก https://nkr.mcu.ac.th/buddhasil/?p=100

ภูมิ จิระเดชวงศ์. (2562). การแต่งกายสมัยศรีวิชัย. สืบค้นจาก https://web.facebook.com/321408291810578/posts/696740414277362/

รุ่งนภา สุวรรณศรี. (2562). ศึกษาศิลปะแบบศรีวิชัยเพื่อออกแบบอัตลักษณ์ลวดลายบนผลิตภัณฑ์เครื่องถมทอง. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 6(1), หน้า 185-217.

ลักษมณ์ บุญเมือง. (2561). หลักฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมศรีวิชัยในคาบสมุทรภาคใต้. วารสารข่วงผญา, 13, หน้า 130-163.

ศราวุธ ศรีทิพย์, ณรัณฐ์ อัครนิธิพิรกุล และบัญชา พงษ์พานิช (2562). จันดี… สถานีข้ามคาบสมุทรสมัย ศรีวิชัยและการค้นพบพระโพธิสัตว์ไตรโลกยวิชัย. วารสารเมืองโบราณ, 45(3), หน้า 40-48.

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). ลูกปัดคลองท่อมอันเลื่องชื่อแห่งเมืองกระบี่. สืบค้นจาก http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=4431&pageid=1&read=true&count

สืบพงศ์ ธรรมชาติ. (2556). อารยธรรมแดนใต้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และศรีธรรมราชมหานคร (เมืองสิบสองนักษัตร). วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5(3), หน้า 132-141.

สุชาติ เถาทอง, สังคม ทองมี, ธำรงศักดิ์ ธำรงเลิศฤทธิ์ และรอง ทองดาดาษ. (2551). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานทัศนศิลป์ ม.1. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

อมรา ศรีสุชาติ. (2557). ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

อัจฉรา สโรบล. (2552) การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี. เอกสารคำสอน. สาขาวิชาศิลปะสัมพันธ์ คณะมนุษย์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Chutiwongs, N. (2010). The closing chapter on Avalokitesvara Srivijaya and Maritime Southeast Asia. Abhinandanamala, edited by L. Prematilleke, pp. 1-30. Bangkok: SPAFA Regional Centre of Archaeology and Fine Arts.

Dellios, R. and Ferguson, J. (2015). Thinking Through Srivijaya. Polycentric Networks in Traditional Southeast Asia. Retrieved from http://web.isanet.org/Web/Conferences/GSCIS%20Singapore%202015/Archive/99b291ba-ce9f-4589-aea9-031db11dcb19.pdf

Manguin, P.Y. (2021). Srivijaya: Trade and Connectivity in the Pre-modern Malay World. Journal of Urban Archaeology, 3, pp. 87-100. Retrieved from https://shs.hal.science/halshs-03627932/document

Nilakanta, S. (1940). Srivijaya. Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient. 40(2). pp. 239-313. Retrieved from https://www.persee.fr/doc/befeo_0336-1519_1940_num_40_2_4796

Sirisens, W.M. (1978). Sri Lanka and Southeast Asia: On political, religious and cultural relations. (Lạngkakumar Trans.) Nakhon Prathom Thailand: Sala printing.

Soekmono, R. (1986). The Architecture of Srivijaya: A Review. SPAFA Digest journal, (7)1, pp. 1-6. Retrieved from https://www.spafajournal.org/index.php/spafadigest/article/view/473

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2024