การจัดการความรู้การแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยดินดำของวิสาหกิจชุมชน ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • จันทนา อินทฉิม นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, การแปรรูป, ผักตบชวา, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ ประสบการณ์การจัดการความรู้ของประชาชน เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้การแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยดินดำของวิสาหกิจชุมชน และ 3) ศึกษากระบวนการจัดการความรู้ในการแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยดินดำของวิสาหกิจชุมชน ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ รูปแบบของการวิจัยแบบผสานวิธี  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 436 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 15 คน รวมทั้งสิ้น 451 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน t-test, One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ของประชาชน เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ของวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ คน กระบวนการจัดการ ผู้นำ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านผู้นำ อยู่ในระดับมาก และ 3) กระบวนการจัดการความรู้ในการแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยดินดำของวิสาหกิจชุมชน เริ่มจาก การกำหนดความรู้ การแสวงหาหรือยึดกุมความรู้ การสร้างความรู้ การแลกเปลี่ยน การจัดเก็บความรู้ การถ่ายทอดความรู้ และการนำความรู้ไปใช้

References

กิตติญาภรณ์ ซุยลา. (2549). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการเทศบาลตำบลหนองหิน กิ่งอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

อัตติยาพร ไชยฤทธิ์, อธิภัทร สินทรโก และนพพร ขุนค้า. (2563). แนวทางการแก้ไขปัญหาผักตบชวาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(2), หน้า 35–50.

Ben Franklin. (2015). Knowledge Management Synergy. Retrieved from http://www.providersedge.com/kma

Best, John. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Boonyakit, B., (2006). Knowledge management theory to practice. Bangkok: Jirawat Express. (In Thai).

Cohen, J. (1980). Statistical power analysis for the behavioral science. New York: Academic Press.

Davenport. (1994). World trade reform: do developing countries gain or lose?/Sheila Page with Michael Davenport. London: Overseas Development Institute.

Egbu, C., Hari, S., & Renukappa, S. (2005). Knowledge Management for Sustainable Competitiveness in Small and Medium Surveying Practice. Structural Survey, 23(1), pp 7-21.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw–Hill.

Mar quardt, M. J. (2002). Building the Learning Organization: A System Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill.

M. B. Miles & A. M. Huberman. (1994). Qualitative Data Analysis. (2nd ed). Thousand Oaks. CA: Sage Publications.

Sharratt, M., & Usoro ,A. (2003). Understanding Knowledge-Sharing in Online Communities of Practice. Electronic Journal on Knowledge Management, 1(2), pp. 187-197.

Yin, R. K. (2003). Case Study Research: Design and Methods. (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage Publications, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2023