ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
การปฏิบัติงาน, เจ้าหน้าที่ตำรวจ, สถานีตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี, จังหวัดกาญจนบุรีบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 2) ศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และ 3) การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 150 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านนโยบายและการบริหารงาน รองลงมาคือ ด้านโครงสร้างการทำงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการสนับสนุนให้มีการพัฒนาอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน 2) แนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี คือ ควรมีการสนับสนุนให้มีการนำแนวคิดหรือวิธีการใหม่ ๆ มาปรับใช้ในหน่วยงานอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยต่อการปฏิบัติงาน ทำให้ลดขั้นตอนต่อการปฏิบัติงานและเวลาทำงาน และ 3) การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรีไม่แตกต่างกัน
References
กมลวรรณ ปานประดิษฐ์ และอดิศร ภู่สาระ. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), หน้า 113-122.
นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประเสริฐ อุไร. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท เอจีซี ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ, มหาวิทยาลัยเกริก.
ศิริณา จิตต์จรัส และอรอุษา ปุณยบุรณะ. (2557). แนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานและความพึงพอใจของพนักงานมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. วารสารพิฆเนศวร์สาร, 10(1), หน้า 1-12.
สถานีตำรวจภูธรเมืองกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. (2566). ข้อมูลพื้นฐาน โครงสร้าง อัตรากำลัง และข้อมูลผู้บริหาร. สืบค้นจาก https://mueangkanchanaburi.police7.go.th/ita-standards/informations/basic-information/ita-o1/
อัครวัฒน์ นิธิจิรวงศ์. (2559). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจ ตามแผนปฏิบัติงานฝ่ายเทศกิจ กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)