การเปรียบเทียบสำนวนไทยและสำนวนจีน ที่มีความหมายเหมือนกัน
คำสำคัญ:
สำนวนไทย สำนวนจีน, ความหมายเหมือนกัน, การเปรียบเทียบบทคัดย่อ
การศึกษาสำนวนไทยและสำนวนจีนที่มีความหมายเหมือนกันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำของสำนวนไทยและสำนวนจีนที่มีความหมายเหมือนกัน 2) ศึกษาภาพสะท้อนสังคมทั้งสองประเทศจากสำนวนไทยและสำนวนจีนที่มีความหมายเหมือนกัน ผู้วิจัยได้รวบรวมสำนวนไทยและสำนวนจีนที่มีความหมายเหมือนกันรวม 103 คู่สำนวน ได้แก่ สำนวนไทย 103 สำนวน สำนวนจีน 103 สำนวน ผลการวิจัยพบว่า 1) สำนวนไทยและสำนวนจีนที่มีความหมายเหมือนกันแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สำนวนที่ใช้คำเหมือนกัน และสำนวนที่ใช้คำแตกต่างกัน สำนวนที่ใช้คำแตกต่างกันแบ่งเป็น 15 ประเภท ได้แก่ สำนวนที่ใช้สัตว์ต่างชนิดกัน สำนวนไทยใช้สัตว์แต่สำนวนจีนใช้คำอื่น สำนวนไทยใช้พืชแต่สำนวนจีนใช้คำอื่น สำนวนที่ใช้อวัยวะต่างกัน สำนวนไทยใช้อวัยวะ แต่สำนวนจีนใช้คำอื่น สำนวนที่ใช้คำเกี่ยวกับร่างกาย สำนวนไทยใช้คำเกี่ยวกับร่างกาย แต่สำนวนจีนใช้คำอื่น สำนวนที่ใช้คู่คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน สำนวนที่ใช้สิ่งของเปรียบเทียบต่างกัน สำนวนที่ใช้คำเกี่ยวกับธรรมชาติต่างกัน สำนวนไทยใช้คำเกี่ยวกับธรรมชาติแต่สำนวนจีนใช้คำอื่น สำนวนไทยใช้ผีแต่สำนวนจีนใช้คำอื่น สำนวนที่ใช้กริยาและจำนวนต่างกัน สำนวนไทยใช้อาหาร แต่สำนวนจีนใช้คำอื่น สำนวนอื่น ๆ 2) สำนวนไทยและสำนวนจีนที่มีความหมายเหมือนกันดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงภาพสะท้อนสังคมในด้านสัตว์ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และศาสนา
References
กณิกนันต์ โยธานะ. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนที่มีคำว่า “chī” กับสำนวนไทยที่มีคำว่า “กิน”. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(6), หน้า 145-181.
เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2554). พจนานุกรมจีน-ไทยฉบับใหม่. (พิมพ์ครั้งที่28). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
ประเทือง คล้ายสุบรรณ์. (2534). สำนวนไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุทธิสารการพิมพ์.
พิริยา สุรขจร. (2544). สำนวนจีนและสำนวนไทยที่มีคำเกี่ยวกับสัตว์:การศึกษาเปรียบเทียบ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิเชียร เกษประทุม. (ม.ป.ป.). สำนวนไทยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.
สุจริต เพียรชอบ. (2539). ศิลปะการใช้ภาษา. กรุงเทพ ฯ: คุรุสภา.
สุชัญญา ประภาทรง. (2561). การศึกษาสำนวนจีนที่เกี่ยวกับอาหารการกิน. บทความวิจัยปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุภัชญา สวัสดิ์โยธิน. (2562). สำนวนไทยและสำนวนจีนที่มีคำว่า “งู”. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 8(2), หน้า 100-125.
อริยานุวัตน์ สมาธยกุล. (2559). การประกอบสร้างสำนวนไทยเชิงอำนาจ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยพะเยา.
อาภรณ์ ถิรกันต์ และโจว รุ่ย (2566). การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนที่เกี่ยวกับความรักในภาษาไทย-จีน. วารสารวจนะ, 11(1), หน้า 21-43.
เอกฉัท จารุเมธีชน. (2537). ภาษาไทยสำหรับครู. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
LIMENGDIE. (2019). A Contrastive Study of Chinese and Thai Color Idioms. Master of Arts Thesis, Chiang Mai Rajabhat University.
NALENTIP HUNYEELAI. (2020). A Comparison of Chinese and Thai Mammal Idioms. Master's Thesis, ZheJiang Normal University.
陈爱深. (2012). 汉泰动作成语对比研究. 硕士论文, 上海交通大学.
马国凡. (1978). 成语. 内蒙古: 内蒙古人民出版社.
吴文菲. (2018). 汉泰语生肖动物成语对比及教学策略研究. 语言学及应用语言学硕士论文, 广西民族大学.
中国社会科学院语言研究所词典编辑室. (2012). 现代汉语词典. 北京: 商务印书馆.
广州外国语学院. (2015). 泰汉词典. 北京: 商务印书馆.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)