รูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชนที่เน้นการมีส่วนร่วมในชุมชนกับศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ตำบลปากคลองบางปลากด จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
รูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท, การมีส่วนร่วมของประชาชน, การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทภาคประชาชน ตำบลปากคลองบางปลากด จังหวัดสมุทรปราการ ผลจากการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทในชุมชนของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มีการกำหนดรูปแบบ วิธีการ ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยไว้ชัดเจน 2) มีกระบวนการพูดคุยกันรับฟังเหตุผลของทั้งสองฝ่าย มีกระบวนการดำเนินการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัคร ผู้นำแบบทางการและไม่เป็นทางการ เข้ามามีส่วนร่วมให้มีการใช้ศักยภาพของชุมชนผ่านทางคณะกรรมการของศูนย์ไกล่เกลี่ยที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นคนกลางในการทำหน้าที่ในการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ และ 3) ตัวแทนของชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งผ่านการคัดเลือกเข้าไปเป็นตัวแทน เพราะการมีจิตสาธารณะ ความเสียสละ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งและส่งเสริมความสามัคคีในชุมชน ข้อเสนอแนะในงานวิจัยนี้ 1) ควรมีการจัดฝึกอบรมเสริมทักษะให้ผู้นำชุมชนหรือผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้มีความรู้ด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หรือภาครัฐส่งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมาให้ความรู้ 2) ควรมีการศึกษาดูงานหน่วยงานด้านการไกล่เกลี่ย เช่น ศูนย์ไกล่เกลี่ยของศาล สภาทนายความ หรือหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่ประสบความสำเร็จเพื่อจะได้เทคนิคและองค์ความรู้ใหม่ ๆ นำมาใช้ 3) ควรให้ประชาชนทุกภาคส่วนของชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท เช่น เด็กและเยาวชนที่อยู่ในชุมชน และ 4) ภาครัฐควรส่งเสริมการจัดตั้งกฎระเบียบธรรมนูญหมู่บ้านโดยออกเป็นกฎหมายมารองรับ
References
เทศบาลเมืองพระสมุทรเจดีย์. (2561). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นจาก https://phrasamutjedee.go.th/public/list/data/index/menu/1144
พรรณยง พุฒิภาษ. (2550). การขจัดความขัดแย้งกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ. (2560). ‘วิชา มหาคุณ’ ร่องชีวิต รอยอาชญากร. สืบค้นจาก http://acf.or.th/anti/anti_corruption_news/detail/25
ยุทธศักดิ์ ดีอร่าม. (2565). บทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏกับการระงับข้อพิพาทในชุมชนด้วยวิธีการไกล่เกลี่ย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 5(3), หน้า 122-132.
ศิรินรัตน์ รัตนพันธ์. (2543). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม: ศึกษากรณีมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรวิศ ลิมปรังษี. (2560). กฎหมายกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.
สำนักแผนงานและงบประมาณศาลยุติธรรม. (2566). สถิติคดีศาลยุติธรรม มกราคม-มีนาคม 2566. สืบค้นจาก https://oppb.coj.go.th/th/content/category/detail/id/22/iid/347426
สำนักคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของทางราชการ. (2563, กรกฎาคม 24). ประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดเลขทะเบียนของศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนและเลขประจำตัวของเรื่องของศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชน ตามพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER24/DRAWER069/GENERAL/DATA0000/00000313.PDF
ส่วนอำนวยการความเป็นธรรม สำนักสอบสวนและนิติการ กรมการปครอง. (2556). คู่มือไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท. กรุงเทพฯ: อาสารักษาดินแดน.
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2545). รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรศักดิ์ ศรีสาร. (2559). การพัฒนารูปแบบการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อภิรดี พลีน้อย. (2555). การพัฒนาการจัดการความขัดแย้งในชุมชน โดยการใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยอาสาสมัครไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)