คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตการทำงาน, แรงงานภาคอุตสาหกรรม, สมุทรปราการ, ไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตการทำงานมาเป็นข้อมูลในการสร้างแบบสอบถามและแนวคำถามเพื่อสนทนากลุ่ม มีความเชื่อมั่นที่ 0.96 นำไปใช้กับแรงงานเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบระดับมาก ใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม 2) การทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น 3) ความเป็นประโยชน์ต่อสังคม 4) จังหวะชีวิต 5) ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน 6) โอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง 7) สิทธิส่วนบุคคล และ 8) สภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ พบว่า แรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต่างกันได้รับผลกระทบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ปัจจัยที่ใช้ในการพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงาน คือ ปัจจัยตัวบุคคล ปัจจัยพฤติกรรมองค์การ ปัจจัยการทำงานกลุ่มและปัจจัยด้านกฎหมาย และมีประสิทธิภาพของการพยากรณ์อยู่ที่ร้อยละ 41.30
References
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: วี อินเตอร์ปริ้น.
ปิยาภรณ์ พรหมทัต และเกียรติชัย วีระญาณนนท์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), หน้า 167-177.
ศิรวัฒน์ สุจริต. (2563). ผลกระทบจากการจ้างงานเนื่องจากการปิดตัวของอุตสาหกรรม. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศิระประภา เอื้อวิวัฒน์สกุล. (2563). ผลกระทบและทิศทางของภาคอุตสาหกรรมหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. สืบค้นจาก https://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/ArticlesAnalysis/Direction_industry_after_COVID-19.pdf
สุพัตรา รุ่งรัตน์, ซูลฟีกอร์ มาโซ และยุทธนา กาเด็ม. (2563). รายงานวิจัยเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สำนักงานแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ. (2564). รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดสมุทรปราการ ไตรมาส 1 ปี 2564. สืบค้นจาก https://samutprakan.mol.go.th/news_group/labour_situation/page/2
Walton, R.E. (1973). “Quality of Working Life: What is It?.” Sloan Management Review. 15(Fall 1973): 12-16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)