การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์สักขาลาย กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ พงษ์กุล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • ปณต นวลใส คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ของที่ระลึก, อัตลักษณ์, สักขาลาย, กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์สักขาลาย และออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก  ที่สะท้อนอัตลักษณ์สักขาลาย กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท จังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและข้อมูลภาคสนาม จากการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์สักขาลาย กลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ที่พบในตำบลโพน อำเภอคําม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ สามารถจำแนกอัตลักษณ์ได้ 2 ด้าน ได้แก่ อัตลักษณ์ปัจเจก และอัตลักษณ์ร่วม โดยอัตลักษณ์ปัจเจก คือ ลักษณะของลวดลายในการสักของแต่ละบุคคลมีความคล้ายและใกล้เคียงกัน มี 10 ลวดลาย ได้แก่ ลายมอ, ลายก้อนหิน ลายกรอบ ลายดอกบัว ลายดอกบัวเครือ ลายแข่วหมาตาย ลายใบมะขาม ลายคีมตัดหมาก ลายกากบาท และลายขีด ส่วนอัตลักษณ์ร่วม คือ มีรูปแบบและความเชื่อที่มีร่วมกันของผู้ถูกสัก คือ 1) รูปแบบของสักขาลาย เป็นการสักรอบต้นขาจนถึงหัวเข่า มีลักษณะคล้ายกางเกง 2) ความเชื่อในการสัก ได้แก่ การสักขาลายเป็นประเพณีนิยม การสักขาลายเป็นการแสดงถึงความเป็นกลุ่มเดียวกัน การสักขาลายเป็นการแสดงถึงความเป็นลูกผู้ชาย และการสักขาลายมีผลต่อการเลือกคูครอง ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผู้บริโภค พบว่า ลวดลายที่นิยมนำมาประยุกต์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกมากที่สุด คือ 1) ลายมอม 2) ลายแข่วหมาตาย 3) ลายกรอบ 4) ลายก้อนหิน และ 5) ลายใบไม้ นอกจากนี้ผลความพึงพอใจโดยรวมของกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน ที่มีต่อเครื่องประดับที่ออกแบบ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.87)

References

ธีระชัย สุขสด. (2544). การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

วราภรณ์ คีรีพัฒน์. (2528). การสอนวิทยาศาสตร์. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศุภรัตน์ แสงฉัตรแก้ว. (2560). สักขาลาย: อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(2), หน้า 248-273.

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี. (2566). ttb analytics คาดรายได้การท่องเที่ยวไทยปี 2566 เพิ่มขึ้น 1 ล้านล้านบาทจากปีก่อน พุ่งแตะระดับ 2.25 ล้านล้านบาท. สืบค้นจาก https://www.ttbbank.com/th/analytics/business-industry/tourism-healthcare/20230112-ttb-analytics-thai-tourism-outlook2023

สมเกียรติ ชัยพิบูลย์. (2551). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สุภางค์ จันทวานิช. (2551). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน). (2565). แผนปฏิบัติการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570). สืบค้นจาก https://www.cea.or.th/backendservice/3dflipbook?url=https%3A%2F%2Fwww.cea.or.th%2Fstorage%2Fapp%2Fmedia%2FITA_2566%2Fo4_CEA_Strategic_Plan_2566_2570_Apr2023.pdf

อรพินท์ บุญสิน. (2557). แนวทางการสร้างผลลัพธ์การผลิตสินค้าเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในภาคอุตสาหกรรม. วารสารการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 3(3), หน้า 22-31.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Special Report. (2566). เจาะ 5 เทรนด์การท่องเที่ยว 2566 สร้างรายได้กระจายลงชุมชน. สืบค้นจาก https://aec10news.com/contents/special-report/200360/

SUN YING XIN. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสะท้อนเอกลักษณ์พื้นถิ่น ชุด ศิลปะเต๋าแห่งเขาเหลาซาน. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 19(1), หน้า 133-148.

Y.na nagara. (2007). แนวคิดของ Deconstruction. สืบค้นจาก https://yong-book2.blogspot.com/2007/03/deconstruction.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2023