ตัวตลก ในละครเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน พลายบัวลักนางแว่นแก้ว

ผู้แต่ง

  • พิษณุ กันภัย สาขานาฏศิลป์ไทย บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ธีรภัทร์ ทองนิ่ม คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • จุลชาติ อรัณยะนาค ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ตัวตลก, ละครเสภา, ขุนช้างขุนแผน

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการแสดง และกระบวนท่ารำของ ป่อง-เป๋อ ในละครเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน พลายบัวลักนางแว่นแก้ว ผลการศึกษาพบว่า การแสดงตลกมีมาตั้งแต่สมัยโบราณและได้รับการสืบทอดมาถึงปัจจุบัน โดยปรากฏเด่นชัดอยู่ในการแสดงโขนและในการสวดคฤหัสถ์ ต่อมาได้นำการแสดงทั้งสองประเภทมารวมกัน และเรียกการแสดงนี้ว่า จำอวด ต่อมาคำว่าจำอวดกับการแสดงตลกได้ปะปนกัน อาจจะเรียกการแสดงจำอวด หรือการแสดงตลกก็ได้ ภายหลังการแสดงจำอวดหรือตลกได้สอดแทรกอยู่ในการแสดงละครเพื่อสร้างความขบขันให้กับผู้ชม ตลกที่ปรากฏในการแสดงละครที่เด่นชัดจะอยู่ในละครเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ด้วยเนื้อเรื่องมีความยาวและสามารถตัดตอนเป็นตอนสั้น ๆ ได้ สำหรับละครเสภาที่ปรากฏตัวตลกที่มีเอกลักษณ์เด่นชัดนั้น คือตอน พลายบัวลักนางแว่นแก้ว เนื่องด้วยในการแสดงตลกในตอนนี้จะมีลักษณะที่มีบทร้องและกระบวนท่ารำกำกับเฉพาะเอาไว้ โดยจะไม่เล่นแบบ “ลอยดอก”หมายถึง การด้นสดไม่กำหนดไว้ตายตัว เปลี่ยนไปได้ในการแสดงแต่ละครั้ง จึงทำให้ตัวตลกในละครเสภา เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน

References

กฎหมายตราสามดวง. (2502). พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2546). ละครฟ้อนรำ ประชุมเรื่องละครฟ้อนรำกับระบำรำเต้น ตำนานฟ้อนรำ ตำนานเรื่องละครอิเหนา ตำนานละครดึกดำบรรพ์. กรุงเทพฯ: มติชน.

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (ม.ป.ป.). การละครไทย. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2511). โขน. พระนคร: ศิวพร.

ธวัช บุญฟัก. (2562). กระบวนท่ารบในการแสดงละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน พลายเพชรพลายบัวออกศึก. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย บัณฑิตศึกษา, สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

นิสา เมลานนท์. (2541). การละเล่นและการเล่นจำอวดพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก,พระบาทสมเด็จพระ. (2521). เรื่องกฎหมายตราสามดวง. กรุงเทพฯ: อุดมศึกษา.

มนตรี ตราโมท. (2504). การละครของไทย. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพลับลิเคชั่น.

ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร. (2517). คุณค่าเชิงวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชามัธยมศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย.

ศิลปากร,กรม. (2505). “เสภาขุนช้าง-ขุนแผน” วรรณคดีไทย. พระนคร: คุรุสภา.

อมรา กล่ำเจริญ. (2542). สุนทรีย์นาฏศิลป์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Blistein, M. (1964). Comedy in Action. Durham, N.C.: Duke University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2023