กลวิธีการแปลคำบุรุษสรรพนามภาษาจีนเป็นภาษาไทย ในนวนิยายแปล เรื่อง สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย

ผู้แต่ง

  • สุธัญญา ปานทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ชุติกาญจน์ เหมสุวิมล นักวิชาการอิสระ
  • ประกายกานต์ นกน้อย นักวิชาการอิสระ
  • กมลชนก สิทธิโชคสถิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

กลวิธีการแปล, คำบุรุษสรรพนาม, ภาษาจีน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องกลวิธีการแปลคำบุรุษสรรพนามภาษาจีนเป็นภาษาไทยในนวนิยายแปลเรื่อง สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแปลคำบุรุษสรรพนามจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย โดยศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการแปลคำบุรุษสรรพนามภาษาจีนจากนวนิยายต้นฉบับภาษาจีน เรื่อง 三生三世, 枕上书 (上) ซึ่งแต่งโดย ถังชีกงจื่อ (唐七公子) และฉบับแปลภาษาไทยเรื่อง สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย แปลโดย หลินโหม่ว จำนวน 24 คำ ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการแปลคำบุรุษสรรพนามจากภาษาจีนเป็นภาษาไทยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ 1) การแปลตรงโดยถ่ายทอดเสียงหรือทับศัพท์ 2) การแปลตรงโดยถ่ายทอดความหมาย 3) การแปลโดยใช้คำอื่นทดแทนเพื่อขยายความหรือสื่อความหมายที่ชัดเจน และ 4) การแปลแบบละทิ้งความหมายของคำ โดยกลวิธีการแปลที่พบมากที่สุด คือ การแปลตรงโดยถ่ายทอดความหมาย ซึ่งการแปลตรงโดยการถ่ายทอดความหมาย จำเป็นต้องเลือกใช้คำแปลภาษาไทยให้เหมาะสมกับเพศ วัย และสถานะของผู้สนทนา เนื่องจากภาษาไทยมีคำบุรุษสรรพนามให้เลือกใช้มากกว่าภาษาจีน และการเลือกใช้คำบุรุษสรรพนามในภาษาไทยมีความแตกต่างกันตามสถานะของคู่สนทนา หากเลือกใช้คำแปลที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้การสื่อความหมายผิดพลาดได้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีคำบุรุษสรรพนามจำนวนหนึ่งที่สามารถใช้กลวิธีการแปลมากกว่า 1 ประเภทได้ เพื่อให้บริบทมีความชัดเจน โดยไม่ทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ

References

กนกพร นุ่่มทอง และศิิริิวรรณ ลิิขิิตเจริิญธรรม. (2562). หลักและข้อควรระวังในการแปลจีน-ไทย ไทย-จีน. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 12(2), หน้า 105-151.

จรัสศรี จิรภาส. (2562). การแปลคำเฉพาะไทย-จีน: สภาพปัญหาข้อจำกัดและหลักเกณฑ์การถ่ายเสียงคำไทยด้วยอักษรจีน ใน การประชุมวิชาการด้านจีนศึกษาระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2. (หน้า 11-38). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชมพูนุช ประชาญสิทธิ์ และผกาศรี เย็นบุตร. (2564). การใช้คำบุรุษสรรพนามในภาษาไทยและภาษาจีนของนักศึกษาชาวจีน. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(2), หน้า 19-36.

ณัฐนันท์ ติยานนท์. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบนวนิยายจีน เจีย กับฉบับแปลภาษาไทย บ้าน. วารสารบัณฑิตศึกษามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), หน้า 1-26.

ธนาภัสสร์ สนธิรักษ์, วีรกาญจน์ กนกกมเลส และปรีชา คะเนตนอก. (2563). การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการแปลนวนิยายภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(4), หน้า 1269-1282.

พัชรี โภคาสัมฤทธิ์. (2554). การแปลคำสรรพนามจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 33(2), หน้า 57-88.

มาลี วรลัคนากุล. (2560). การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการแปลวรรณกรรมนวนิยายกำลังภายใน ฉบับแปล ภาษาไทยเรื่อง กระบี่ใจพิสุทธิ์ จากต้นฉบับภาษาจีน เรื่องเหลียนเฉิงเจวี๋ย (连城诀). วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2), หน้า 79-103.

วัลยา วิวัฒน์ศร. (2557). การแปลวรรณกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิวัฒน์ศร.

สุชาดา เจียพงษ์. (2553). การเปรียบเทียบคำบุรุษสรรพนามในภาษาไทย 4 ถิ่น. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ถังชีกงจื่อ. (2558). สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย เล่มที่ 1. แปลจาก 三生三世, 枕上书 (上) โดย หลินโหม่ว. กรุงเทพฯ: สุรีย์พร.

ถังชีกงจื่อ. (2558). สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย เล่มที่ 2. แปลจาก 三生三世, 枕上书 (上) โดย หลินโหม่ว. กรุงเทพฯ: สุรีย์พร.

Le, T.M.K., & Mahavarakorn, S. (2022). Cultural Factors Affecting the Usage of Thai Personal Pronouns of the Vietnamese Students Learning Thai as a Foreign Language. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal (GTHJ.) Kamphaeng Phet Rajabhat University, 28(4), pp. 113-124.

Tangqigongzi. (2019). Sansheng Sanshi Zhenshang shu (Shang). China: Cultural Development Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2023