ความพึงพอใจของราษฎรต่อการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินของโครงการธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจของราษฎร, การวางแผน, โครงการธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่มบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่มของราษฎร และวัดระดับความพึงพอใจของราษฎรในพื้นที่บ้านแม่ปาน จากการเข้าร่วมโครงการธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่ม โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 108 คน ที่เป็นตัวแทนสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านแม่ปาน ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบกึ่งปลายปิด ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 และแบบสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่ม ทุกคนทราบว่าชุมชนของตนเองเข้าร่วมโครงการฯ โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้ข้อมูลของโครงการฯ ในการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการฯ ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจสูงมากต่อการดำเนินโครงการ (ค่าเฉลี่ย 4.51) สำหรับกิจกรรมที่มีค่าคะแนนความ พึงพอใจสูงที่สุด ได้แก่ กิจกรรมฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ มีค่าคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 4.77 จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจ พบว่าทุกปัจจัยที่กำหนดขึ้น ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ การมีที่ดินทำกิน และการเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่อแผนฯ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดมีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่มเพราะเป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในพื้นที่
References
กาญจนา สงวนการ และวิภาวรรณ กลิ่นหอม. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของชุมชนด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของเหมืองแร่หินในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 9(4), หน้า 41-52.
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน. (2562). มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน.
สมเกียรติ ชัยพิบูลย์ และนารินจง วงศ์อุต. (2562). ผลกระทบของโครงการธรรมชาติปลอดภัยต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 21(1), หน้า 17-24.
สมเกียรติ ชัยพิบูลย์. (2563). รายงานวิจัยโครงการธรรมชาติปลอดภัยแม่แจ่ม (แม่ปาน-สันเกี๋ยง โมเดล) : การวิจัยและพัฒนาชุมชนต้นแบบสู่ชุมชนอนุรักษ์ น้ำ ป่าและอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ้วส์.
Bernays, W.T., (2013). Dealing with cynical citizens. Public Administration Review, 57(2), pp. 105- 112.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Management, 30(3), pp. 607-610.
Kaleli, W., Otslulah, W.N, & Mutisya, C. (2021). The Role of Public Relations in sensitizing public on Government Projects in Kenya: Case of Nairobi County. Journal of Development and Communication Studies, 8(1), pp. 49-73.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)