แนวทางการจัดบริการสำหรับผู้สูงอายุที่ใช้บริการขนส่งสาธารณะ กรณีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ความพึงพอใจ , ความต้องการ, แนวทางการปรับปรุงบริการ, รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุ 2) สำรวจความต้องการของผู้สูงอายุ และ 3) สำรวจความคิดเห็นของผู้ให้บริการ ผู้ทรงคุณวุฒิ/นักวิชาการ และผู้สูงอายุ ต่อแนวทางการปรับปรุงบริการสำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้น รวบรวมข้อมูลทั้งหมดนำมาสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับผู้ให้บริการ ผู้ทรงคุณวุฒิ/นักวิชาการ และผู้สูงอายุ เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงบริการของผู้สูงอายุต่อไป จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 60-69 ปี ซึ่งไม่ได้ประกอบอาชีพ และเป็นข้าราชการบำนาญจึงมีแหล่งที่มาของรายได้จากเงินบำนาญเป็นส่วนใหญ่ ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการจัดบริการในด้านความปลอดภัยมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจการจัดบริการในด้านเหรียญ/บัตรโดยสารลดราคา 50% ของอัตราค่าโดยสารปกติ ด้านการปรับปรุงบริการที่ผู้สูงอายุต้องการให้พัฒนาการจัดบริการ 4 ด้าน คือ 1) ด้านการจัดบริการ 2) ด้านคุณภาพการจัดบริการ 3) ด้านการประชาสัมพันธ์ และ 4) ด้านการพัฒนาบุคลากร ซึ่งรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ควรพัฒนานโยบายการจัดบริการให้สอดคล้องต่อความต้องการของผู้สูงอายุ ซึ่งมีความสำคัญต่อสังคมในอนาคตต่อไป
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1766
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย. (2565). โครงการสำรวจภาพลักษณ์องค์กรของ รฟม. และความพึงพอใจของประชาชนต่อมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและจราจร. กรุงเทพฯ: NIDA Poll โพลแห่งแรกในประเทศไทย.
กรุงเทพธุรกิจ. (2557, ตุลาคม 21). แนวโน้มโลก 2050 ตอนที่ 3 : สังคมโลก...สังคมผู้สูงอายุ. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/611956
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2557). การบริการลูกค้า = Customer service. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย แอนด์พับลิชชิ่ง.
ฐิติพงศ์ เอี่ยมสะอาด และรัตพงษ์ สอนสุภาพ. (2560). อารยสถาปัตย์กับความรับผิดชอบต่อสังคมของรถไฟฟ้าบีทีเอส. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต
ณัฐนันท์ แก้วศิริพงษ์. (2566). สถิติผู้โดยสารสูงอายุที่เข้าใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ.
ธัญญรัตน์ วงศ์ฟู. (2562) กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุเฉพาะช่วงกลางวัน (Day Care) ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (2563). Happy Journey With BEM รายงานประจำปี 2563 บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ: ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ
วริศรา เจริญศร. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้รถไฟฟ้าบีทีเอส. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และปริญญานันท์ ฉั่วกุล. (2561). คุณภาพการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal Silapakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), หน้า 3091-3104.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. (2557). สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 7(1), หน้า 73-81.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)