อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ “การสวรรคต” ในเพลงถวายความอาลัยแด่การสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ผู้แต่ง

  • อนุสรา ศรีวิระ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • สิริวรรณ นันทจันทูล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์, เพลง, การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถ้อยคําอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ “การสวรรคต” ในบทเพลงถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเก็บข้อมูลจากสื่อออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งเป็นวันสวรรคต จนถึงวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ จำนวน 125 เพลง การวิจัยครั้งนี้ใช้แนวคิดมโนอุปลักษณ์ 2 แนวคิด ได้แก่ มโนอุปลักษณ์ของเลคอฟและจอห์นสัน และแนวคิดมโนอุปลักษณ์ของกิบส์ และโคเวคเซส ผลการศึกษาพบถ้อยคำอุปลักษณ์คำว่า “สวรรคต” จำนวน 353 ถ้อยคำอุปลักษณ์ ถ้อยคำอุปลักษณ์ดังกล่าวสะท้อนมโนทัศน์เกี่ยวกับการสวรรคต 5 มโนอุปลักษณ์ เรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุดได้ดังนี้ [การสวรรคต คือ การเดินทาง], [การสวรรคต คือ การพักผ่อน], [การสวรรคต คือ การหายไป], [การสวรรคต คือ การดับของแสง], และ [การสวรรคต คือ การสิ้นสุดของการกระทำ] อุปลักษณ์นี้สะท้อนมุมมองของผู้ใช้ภาษาไทยต่อการสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร 2 ประการ คือ คนไทย มีมุมมองเกี่ยวกับความตายในแง่บวกซึ่งสะท้อนให้เห็นจากอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์การสวรรคต คือ การพักผ่อน ส่วนมุมมองเกี่ยวกับความตายในแง่ลบ สะท้อนให้เห็นจากอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ การสวรรคต คือ การเดินทาง การสวรรคต คือ การหายไป การสวรรคต คือ การดับของแสง และการสวรรคต คือ การสิ้นสุดของการกระทำ

References

คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. (2559). คติความเชื่อเรื่องกษัตริย์คือสมมติเทพ. สืบค้นจาก http://kingrama9.th/Crematory/Detail/3

ชัชวดี ศรลัมพ์. (2548). อุปลักษณ์ตามแนวคิดของทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชาน. วารสารศิลปศาสตร์, 5(1), หน้า 4-15.

ธเนศ วรากุลนุเคราะห์. (2559, ตุลาคม 19). เพลง 13 ตุลา หนึ่งทุ่มตรง [Video File]. สืบค้นจากhttps://www.youtube.com/watch?v=Sfo3T3ndAok&ab_channel

นันทนา วงษ์ไทย. (2555). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับความตายในภาษาไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 31(1), หน้า 44-64.

น้องผึ้ง บึงสามพัน. (2559, พฤศจิกายน 15). เพลงขอเป็นลูกพ่อ [Video File] สืบค้นจากhttps://www.youtube.com/watch?v=fG_jUEJ6YJg&ab_channel

ปรีชา หวานหู. (2560). วิญญาณศรัทธาตามวิถีไทยในวิถีพุทธ. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 22(1), หน้า 53-62.

ปรียาภรณ์ ถาวะระ. (2563). วัจนลีลาแสดงความอาลัยในบทเพลงต่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมพิลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พระครูสุวิมลสีลบรรพต สีลสุทฺโธ . (2560). ศึกษาความเชื่อเรื่อง บุญ-บาป ที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของประชาชน อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภัครพล แสงเงิน และอุเทน วงศ์สถิต. (2563). นรกภูมิในไตรภูมิ-พระมาลัย: ความสัมพันธ์กับคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาธรรม. วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา, 6(2), หน้า 62-97.

มัณฑนา สุวรรณศรี. (2562). ลักษณะของบทเพลงแสดงความไว้อาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยมลภัทร ภัทรคุปต์. (2553). มโนอุปลักษณ์ความตายที่สะท้อนผ่านถ้อยคำอุปลักษณ์ในหนังสือธรรมะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชนีย์ญา กลิ่นน้ำหอม. (2551). อุปลักษณ์ที่นักการเมืองไทยใช้: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชานและวัจนปฏิบัติศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2559). สำนักงานราชบัณฑิตสภาตอบข้อสงสัยของประชาชน การใช้วลี “เสด็จสู่สวรรคาลัย”. สืบค้นจาก http://go.th/wp-content/uploads/2016/10/การใช้วลี-เสร็จสู่สวรรคาลัย.pdf

อภิวัฒน์ สุวรรณดี. (2563). ภาพแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ จากบทเพลงแสดงความอาลัยการสวรรคต. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ, 5(1), หน้า 125-154.

ไอยเรศ บุญฤทธิ์. (2563). ปรากฏการณ์ “ศิลปะศรัทธา” ในพระราชากรณีศึกษา “บทเพลงจากราษฎร” หลังเหตุการณ์เสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร. วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ, 3(2), หน้า 21-37.

Carabao Official. (2559, ตุลาคม 17). เพลงพ่อภูมิพล [Video File]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=_DQco8SacbE&ab_channel=CarabaoOfficial

F/8 Production. (2559, ตุลาคม 26). เพลงเพื่อพ่อ [Video File]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=5oEOZtFcI9g&ab_channel=F%2F8Production

Gibbs. (1994). The Poetics of Minds: Figurative Thought, Language, and Understanding. New York: Cambridge University Press.

GRAMMY GOLD OFFICIAL. (2559, ตุลาคม 18). เพลงเล่าสู่หลานฟัง [Video File]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=N05Hr5MsnOY

Kövecses. (2002). Metaphor: A Practical Introduction. Oxford: Oxford University Press.

Lakoff & Johnson. (1980). Metaphors We Live By. Chicago: The University of Chicago Press.

MERECORDS. (2559, ตุลาคม 14). เพลงพ่อครับ [Video File]. สืบคนจาก https://www.youtube.com/watch?v=aD-l9iQg9ms&ab_channel=MERECORDS

Sekloso Channel. (2559, ตุลาคม 15) เพลงฉันเกิดในรัชกาลที่ 9. [Video File]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=MTh5p792Pog

Thai PBS. (2559, พฤศจิกายน 26). เพลงเสียงในใจ. [Video File]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=Fc_xUMP5V3g&ab_channel=ThaiPBS

WorkpointOfficial. (2559, ตุลาคม 29). เพลงลำภูไทด้วยหัวใจที่ฮักพ่อ [Video File]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=zFMt9a2su-Y

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-08-2023