ชุดความคิดที่ปรากฏในบทเพลงที่ผลิตโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
คำสำคัญ:
ชุดความคิด, บทเพลง, คสช.บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ชุดความคิดที่ปรากฏในบทเพลงที่ผลิตโดยคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2562 ตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ โดยเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ยูทูบ (YouTube) จำนวน 12 บทเพลง ผลการศึกษาพบชุดความคิด 5 ชุดความคิด ได้แก่ ชุดความคิดเกี่ยวกับทหาร ชุดความคิดเกี่ยวกับชาติ ชุดความคิดเกี่ยวกับประชาชน ชุดความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตย และชุดความคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ในด้านวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมผลิตขึ้นโดยทหาร ดังนั้นทหารจึงเป็นผู้ถ่ายทอดความคิดผ่านบทเพลงที่ผลิตและเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ ส่วนในด้านวิถีปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมนั้น สัมพันธ์กับสภาพสังคมไทยที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางการเมือง จึงทำให้ทหารให้ความสำคัญกับความรักชาติ ความปรองดองสมานฉันท์ และเทิดทูนพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการผลิตชุดความคิดต่าง ๆ ดังนั้นชุดความคิดที่ปรากฏในบทเพลงที่ผลิตโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดความคิดให้เห็นมิติทางสังคมในขณะนั้น อีกทั้งนำไปสู่การควบคุมพฤติกรรมของประชาชนให้เป็นพลเมืองที่พึงประสงค์ตามความมุ่งหวังของทหาร เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง
References
ณิชพร แก้วสถิต. (2563). การศึกษาการสร้างสรรค์งานเพลงเพื่อสะท้อนสังคมของวงเยนา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เทพ บุญตานนท์. (2560). เพลงมาร์ชทหารกับการสร้างภาพลักษณ์กองทัพผู้ปกป้องชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์. วารสารมนุษยศาสตร์สาร, 17(2), หน้า 129-171.
ธนวัตร มัททวีวงศ์. (2559). การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริการสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นฤมล ทับจุมพล. (2531). การใช้สื่อในการสร้างอุดมการณ์ทางการเมือง: ศึกษาจากบทเพลงของทางราชการ (พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2530). วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาพร สีหา. (2559). ความขัดแย้งทางการเมืองกับรัฐประหาร ปี พ.ศ. 2557. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยมาศ มาวงศ์. (2564). อำนาจของภาษาที่มีต่อวาทกรรม: อำนาจของวาทกรรมชาตินิยมในเพลงปลุกใจ. วารสารมังรายสาร, 9(2). หน้า 51-58.
ภัททิรา วิภวภิญโญ. (2558). กลวิธีทางภาษาที่ปรากฏในบทเพลงของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ. วารสารศิลปศาสตร์, 15(2), หน้า 145-161.
ยิ่งลักษณ์ บุญเก็บ. (2552). การใช้เพลงปลุกใจในฐานะสื่อประสัมพันธ์ให้คนไทยสำนึกรักชาติของกองทัพบก พ.ศ. 2547-2550. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุจฬ์สวัตต์ ครองภูมินทร์. (2558). มายาคติในบทเพลงของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุนทรี โชติดิลก. (2560). บุญ: ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมที่ผลิตโดย วัดพระธรรมกาย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อิงอร เนตรานนท์. (2563). พลังอำนาจแห่งชาติซอฟต์พาวเวอร์ของไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 11(1), หน้า 33-47.
เอกจิต สว่างอารมณ์. (2560). การศึกษาวาทกรรม “ประชามติ” ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Fairclough, N. (1989). Language and Power. London: Longman.
Van Dijk. (2006). Discourse and Manipulation. Discourse & Society, 17(3), pp. 359-383.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)