วัฒนธรรมยิวในวิถีความเชื่อของคริสเตียน เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พอฤทัย นิลประพัฒน์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

คำสำคัญ:

ยิว, วัฒนธรรมยิว, วิถีความเชื่อคริสเตียน

บทคัดย่อ

รายงานวิจัยฉบับนี้มีความมุ่งหมายสองประการ ประการแรกคือ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของชาวคริสเตียนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประการที่สองคือ เพื่อศึกษาลักษณะของวัฒนธรรมยิวที่ปรากฏในวิถีความเชื่อของคริสเตียน ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์เป็นระเบียบหลักสำคัญ จากการศึกษาพบว่า ความเป็นมาของชาวคริสเตียนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงบุกเบิกของการเผยแผ่ศาสนา (ค.ศ. 1828-1878) ช่วงการขยายตัวของคริสตจักรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ค.ศ. 1878-1934) และช่วงการก่อตั้งสภาคริสตจักรในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน (ค.ศ. 1934-ปัจจุบัน) ด้านลักษณะของวัฒนธรรมยิวในวิถีความเชื่อของคริสเตียนในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีทั้งในด้านการมีจุดกำเนิดร่วมกัน คือ คัมภีร์โบราณของทั้งสองศาสนา และมีผู้นำทางศาสนาถ่ายทอด อบรม สั่งสอนภายในสมาชิกของสังคมคริสเตียน วิเคราะห์จากข้อมูลหลักฐานสำคัญคือ คัมภีร์โบราณที่ชาวยิวและคริสเตียนให้ความสำคัญร่วมกัน คือ คัมภีร์โทราห์ของชาวยิว และคัมภีร์ 5 เล่มแรกในภาคพันธสัญญาเดิมของคริสเตียน ซึ่งถือว่ามีจุดเริ่มต้นหรือจุดกำเนิดร่วมกัน ส่งผลให้ศาสนพิธีของทั้งสองศาสนามีความสัมพันธ์กัน คือ พิธีปัสกา เทศกาลเพนเทคอสต์ เทศกาลอยู่เพิงของชาวยิว และพิธีมหาสนิท เทศกาลฉลองการเก็บเกี่ยว การจัดค่ายประจำปีของคริสเตียน ในปัจจุบันคริสตจักรทั้งสามแห่งในพื้นที่ศึกษายังคงให้ความสำคัญและถ่ายทอดภายในสมาชิก นอกจากนี้ พระคัมภีร์ของคริสเตียนในภาคพันธสัญญาใหม่ได้กล่าวถึงผลดีของการเชื่อมต่อระหว่างชาวยิวกับคริสเตียน ดังนั้น คริสเตียนส่วนหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครจึงยังคงมีความผูกพันกับวัฒนธรรมของชาวยิวผ่านพระคัมภีร์ที่ยึดถือปฏิบัติร่วมกัน

References

กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา. (2549). 50 ปี ความสัมพันธ์ไทย-อิสราเอล. กรุงเทพฯ: กระทรวงการต่างประเทศ.

ปัญญา วิวัฒนานันท์. (2558). ประวัติศาสตร์ยิว ชาติพันธุ์แห่งการอพยพที่ทรงปัญญา. กรุงเทพฯ: ยิบซี.

ประสงค์ สุขุม. (2548). 150 ปี จากกุฎีจีนถึงประมวญมิชชันนารีกับการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสิทธิ์ พงศ์อุดม. (2547). ย้อนรอยอดีต: 175 ปี มิชชันนารีโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย. ใน นันทชัย มีชูธน (บ.ก.). 175 ปี พันธกิจคริสต์ศาสนาโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย (ค.ศ. 1828-2003) (หน้า 1-73). กรุงเทพฯ: ประชุมทองพริ้นติ้ง.

มนชัย พัชนี และจุลีพจน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2549). ความสัมพันธ์ไทย-อิสราเอล. ใน วิวัฒน์ กุลธรเธียร (บ.ก.). 50 ปี ความสัมพันธ์ไทย-อิสราเอล (หน้า 15-24). กรุงเทพฯ: กระทรวงการต่างประเทศ.

มูลนิธิชมรมไทย-อิสราเอล ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2541). 50 ปี มิตรภาพไทย-อิสราเอล. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

วัลลภา หัสการณ์. (2546). วิถีชีวิตและโลกทัศน์ของชนชั้นกลางคริสเตียน: ศึกษากรณีชุมชมคริสตจักรใจสมาน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมพระคริสตธรรมไทย. (2006). พระคริสตธรรม ฉบับ 1971. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: สมาคมพระคริสตธรรมไทย.

สภาคริสตจักรในประเทศไทย. (2547). 70 ปี แห่งพระพร สภาคริสตจักรในประเทศไทย 1934-2004. กรุงเทพฯ: สภาคริสตจักรในประเทศไทย.

เสฐียร พันธรังสี. (2563). ศาสนาเปรียบเทียบ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี: ศรีปัญญา.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2551). มนุษยวิทยาศาสนา : แนวคิดพื้นฐานและข้อถกเถียงทางทฤษฎี. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อมรา พงศาพิชญ์. (2549). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม). (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา พงศาพิชญ์. (2533). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์: วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อเล็กซานเดอร์, เดวิท และแพท. (2022). คู่มือพระคัมภีร์ฉบับสมบูรณ์ (ฉบับปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาทั้งเล่ม). กรุงเทพฯ: กนกบรรณสาร.

Aliyah Thailand. (2022). ความสำคัญในการร่วมพันธสัญญากับอิสราเอล. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/aliyahthailand/photos/pcb.3434240486806257/3434240216806284

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-04-2023