คนกับเหี้ย: มิติทางสังคมและภูมิทัศน์วัฒนธรรม ของพื้นที่บางเหี้ยจากอดีตปัจจุบันสู่ความยั่งยืนในอนาคต

ผู้แต่ง

  • อานนท์ พรหมศิริ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อนุชา แพ่งเกษร คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

เหี้ย, มิติทางสังคม, ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, บางเหี้ย

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีหลายแนวคิดมองว่า “เหี้ย” เป็นสัตว์ไม่น่ากลัวแต่กลับมีคุณค่ามากมายด้านระบบนิเวศเป็นสัตว์กำจัดซาก นำทุกส่วนของเหี้ยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ไข่ เนื้อ หนัง เครื่องใช้ และยารักษาโรคแต่ในอดีตผู้คนกลับมองว่า “เหี้ย” เป็นสัตว์ และคำพูดอัปมงคลตามความเชื่อโบราณ หลายคนจึงเลี่ยงไปใช้คำเรียกว่า ตัวเงินตัวทอง แม้กระทั่งวาทกรรมต่าง ๆ ยังต้องถูกเปลี่ยนไปตามความเชื่อของสังคมนิยม บางเหี้ยหรือตำบลคลองด่านในปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นชุมชนเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อในอดีตเหตุที่เรียกว่า “บางเหี้ย” เพราะบริเวณนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้ง หอย ปู ปลา จึงมีเหี้ยอาศัยอยู่มาก แต่ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 4-5 คำว่า “เหี้ย” ถูกมองเป็นคำหยาบ และอัปมงคล จนมาถึงการเปลี่ยนแปลง สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีนโยบายการเปลี่ยนชื่อภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง จากคลองบางเหี้ยเป็นคลองด่าน และวัดบางเหี้ยเป็นวัดมงคลโคธาวาส มิติทางสังคมและวัฒนธรรมเกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งเริ่มจากคน การจับจองที่ดินเพื่อประกอบอาชีพ จากพื้นที่ป่าชายเลนตอนใต้น้ำทะเลท่วมถึงที่เหี้ยอาศัยอยู่มาก่อน คนก็ถูกแปรสภาพเป็นพื้นที่เพื่อสร้างบ้านเรือน การอยู่อาศัยปรับเปลี่ยนไปจากชุมชนเหนือน้ำกลายเป็นชุมชนที่อยู่บนบก เหี้ยจึงถูกลดบทบาทและจำนวนลงตามวิวัฒนาการของคนและสังคมในชุมชน บทความนี้จึงต้องการเสนอทัศนคติต่อคนกับเหี้ย และพื้นที่บางเหี้ย (อดีต) ในการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้าใจถึงประโยชน์ของการอยู่ร่วมกัน (ปัจจุบัน) จนนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่เอื้อประโยชน์กัน (อนาคต)

References

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2559, พฤษภาคม 11). ตัวเงินตัวทองกับคำพังเพย “เกลียดตัวกินไข่เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง”. มติชนออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_132070

คนไกล วงนอก. (2565, กรกฎาคม 25). เหี้ยเป็นสัตว์ที่คนรังเกียจ แต่ทำไมสมุทรปราการ มีแม่น้ำ-วัด-อำเภอชื่อ “[บาง]เหี้ย”. ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/history/article_44459

ธเรศ สันตติวงศ์ไชย. (2558, เมษายน12). บางเหี้ย ที่รู้จักในนามคลองด่าน สมุทรปราการ. โอเคเนชั่น สืบค้นจาก https://www.oknation.net/post/detail/634f78f3f5d63d42014fdafc

แนวหน้าสกู๊ปพิเศษ. (2559, มกราคม 13). เปิดมุมมองใหม่‘ตัวเงินตัวทอง’ ว่าที่ ‘สัตว์เศรษฐกิจ’ ที่ยังต้องรอ. แนวหน้า. สืบค้นจาก https://www.naewna.com/scoop/197180

บุญเตือน ศรีวรพจน์. (2564, เมษายน 9). อะไรเป็นเหตุให้คนไทย รังเกียจ “เหี้ย” !?!. ศิลปวัฒนธรรม.สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_28797

บุญเตือน ศรีวรพจน์. (2565, ธันวาคม 23). ค้นหลักฐาน “พระพุทธเจ้า” เคยเสวยพระชาติเป็น “เหี้ย”.ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/history/article_1364

ประวัติศาสตร์นอกตำรา. (2564, กันยายน 3). เรื่องของเหี้ย สัตว์ศักดิ์สิทธิ์สู่วาทกรรมหยาบคาย I EP.97 [Video File]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=HklosGwGjN4

ปิ่น บุตรี. (2551, กุมภาพันธ์ 13). เรื่องเหี้ย ๆ ที่คลองด่าน (1) -ตอน: ย้อนอดีต “บางเหี้ย”. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นจาก https://mgronline.com/travel/detail/9510000017899

รุจิระ มหาพรหม. (2561, มิถุนายน 4). สำรวจ “เหี้ย” หาผลกระทบต่อระบบนิเวศ. ผู้จัดการออนไลน์.สืบค้นจาก https://mgronline.com/science/detail/9610000055479

วรัญญา เชาว์สุโข. (2559, กันยายน 21). สัตว์ที่ได้ชื่อว่า ‘เหี้ย’. สารคดี. สืบค้นจาก https://www.sarakadee.com/2016/09/21/water-monitor/

ส.พลายน้อย. (2555). แม่น้ำลำคลอง. กรุงเทพฯ: มติชน.

องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564). เหี้ย, เหี้ยลายดอก (ตัวเงินตัวทอง). สืบค้นจาก https://zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=254&c_id=

ฮิมวัง. (2565, กันยายน 8). คนไทยด่ากันว่า “เหี้ย” ตั้งแต่เมื่อใด ย้อนดูคติความเชื่อ ทำไมคนจึงเกลียดเหี้ย?. ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_84796

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-04-2023