มนุษย์ ปัญญาประดิษฐ์และองค์การ: วัฒนธรรมและสมดุลของการอยู่ร่วมกัน

ผู้แต่ง

  • วัชรพล ยงวณิชย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ปัญญาประดิษฐ์, วัฒนธรรมองค์การ, มนุษย์กับองค์การ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วัฒนธรรมภายในองค์การ และนำเสนอแนวทางการพิจารณาของผู้บริหารและเจ้าของกิจการ เพื่อพิจารณาสมดุลของการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์ภายในองค์การและการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์การ ผู้เขียนชี้ให้เห็นถึงสภาพของความรู้สึกไม่มั่นคงของคนภายในองค์การ อันเนื่องมาจากข้อกังวลเกี่ยวกับสถานะของมนุษย์อันได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์ เพื่อทำหน้าที่ทดแทนมนุษย์ในการทำงาน แม้ว่าปัญญาประดิษฐ์สามารถช่วยแก้ไขปัญหาด้านแรงงานและส่งเสริมความได้เปรียบในการแข่งขัน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนการทำงานของมนุษย์ ได้สร้างมุมมองให้กับผู้บริหารและเจ้าของกิจการมองเห็นโอกาสทางธุรกิจในการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ เพื่อทดแทนและลดจำนวนคนในองค์การลง เพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันและลดต้นทุนต่อการใช้ทรัพยากรบุคคลลง หากแนวคิดลักษณะนี้ขยายตัวออกไปสู่สังคมมากขึ้น สุดท้ายย่อมนำมาสู่ปัญหาความไม่สมดุลของข้อถกเถียงระหว่างการใช้มนุษย์กับการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในองค์การ อันจะนำมาสู่การพิจารณาที่ว่าองค์การยังจำเป็นต้องมีมนุษย์อยู่หรือไม่ มนุษย์จะดำรงอยู่ในองค์การบนสถานะอย่างไร เมื่อคุณค่าของมนุษย์ถูกแทนที่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ ทางออกสำคัญคือนำเสนอจุดสมดุลของทั้งสองส่วนร่วมกันเพื่อหาจุดร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรมการดำรงอยู่ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย

References

ชนิดา จิตตรุทธะ. (2560). วัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิดา จิตตรุทธะ. (2549). ความสอดคล้องระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลในการรับรู้ของสมาชิกองค์การ: ศึกษากรณีองค์การภาครัฐองค์การภาคเอกชน และองค์การภาคประชาสังคมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bardwick, J.M. (2001). In Praise of Good Business: How Optimizing Risk Rewards Both Your Bottom Line and Your People. Canada: John Wiley & Sons.

Barret, J. (2013). Our Final Invention Artificial Intelligence and The end of Human Era. New York: Thomas Dunne Books.

Bolman, L.G., & Deal, T.E. (2003). Reframing Organizations: Artistry, Choice, and Leadership. San Francisco: Jossey-Bass.

Deal, T.E. & Kennedy A.A. (2000). Corporate Cultures: The Rites and Rituals of Corporate life. New York: Perseus Books.

Fischer, G., & Nakakoji, K. (1992) Beyond the Macho Approach of Artificial Intelligence: Empower Human Designers-Do not Replace Them. Artificial Intelligence in Design Butterworth-Heinemann, 5(1), pp. 15-30.

Handy, C. (1979). God of Management. London: Pan Books.

Katz, D., & Kahn, L.R. (2005). Organizations and the System Concept. in Jay M., Shafritz, J., Ott, S., & Yong Suk Jang (Eds.). Classics of organization theory (pp. 347-358). Belmont: Thomson Wadsworth.

O'Hare, G.P., & Jennings N.R. (1996). Foundations of Distributed Artificial Intelligence. New York: John Wiley & Sons.

Dautenhahn K. (2007). Socially Intelligent Robots: Dimensions of Human–Robot Interaction. Philos Trans R Soc Lond B Biol Sci, 362, pp. 609-704.

Gulick L.H. (2005). Notes on the Theory of Organization. in Jay M., Shafritz, J., Jay M., Shafritz, J., Ott, S., & Yong Suk Jang (Eds.). Classics of organization theory (pp. 66-77). Belmont: Thomson Wadsworth.

McGregor, D. (1960). The Human Side of Enterprise. New York: McGraw-Hill.

O’Connor, G.C., & Rice, M.P. (2013). A Comprehensive Model of Uncertainty Associated with Radical Innovation. Journal of Product Innovation Management, 30, pp. 2–18.

Murphy R.R. (2004). Human-Robot Interaction in Rescue Robotics. Tampa: University South Florida.

Saks, A.M. (2004). Organizational Behavior: Understanding and Managing Life at Work. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

Edgar, S. (1985). Organizational Culture and Leadership. San Francisco: Jossey-Bass.

Taylor, F.W. (1911). The Principles of Scientific Management. New York: Harper and Brothers.

Weick, K.E. (1979). The Social Psychology of Organizing. Massachusetts: Addison-Wesley.

Weick, K.E., & Browning, L.D. (1986). Argument and Narration in Organizational Communication. Journal of Management, 12(2), pp. 243–259.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022