13 ตุลาคม 2559 กับความเบ่งบานของทัศนศิลป์ไทย

ผู้แต่ง

  • สุริยะ ฉายะเจริญ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

รัชกาลที่ 9, ทัศนศิลป์ร่วมสมัยไทย, ความเบ่งบานของศิลปะ, สำนึกร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและวิเคราะห์ความเบ่งบานของงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยในประเทศไทยนับตั้งแต่หลังวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ 9 ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพที่สำรวจ เรียบเรียง และศึกษาเอกสาร ผลงานทัศนศิลป์ สิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง และสื่อออนไลน์ แล้วนำไปสู่การวิเคราะห์ปรากฏการณ์และสำนึกร่วมที่มีต่อรัชกาลที่ 9 ผ่านงานทัศนศิลป์ของไทย ผลจากการวิจัย พบว่า ความเบ่งบานของวงการทัศนศิลป์ร่วมสมัยนับหลัง 13 ตุลาคม 2559 จนถึงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเป็นผลสืบเนื่องจากสำนึกร่วมของสังคมที่มีพระราชาเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาติ ศิลปินไทยสามารถร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์อย่างเป็นเอกภาพท่ามกลางความหลากหลายจนเป็นที่ประทับใจของมหาชน ศิลปินไทยสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ส่วนตัว และการตีความจากปรากฏการณ์ทางสังคมให้ออกเป็นผลงานทัศนศิลป์ที่มีคุณภาพสูงได้อย่างภาคภูมิ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการมีสำนึกร่วมเชิงอุดมคติเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในสังคมไทยเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างแรงขับเคลื่อนทางสังคมให้เกิดการวิวัฒน์ไปอย่างต่อเนื่อง

Author Biography

สุริยะ ฉายะเจริญ, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

สาขาวิชาการจัดการศิลปกรรม

References

เจตนา นาควัชระ. (2563). มีวิจารณ์ จึงมีวิจัย. นครปฐม: คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทีมข่าวคม ชัด ลึก. (2560). ภาพชุด พระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 ใหญ่ที่สุดในโลก. สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/271165

ไทยรัฐออนไลน์. (2560, สิงหาคม 15). อ.เฉลิมชัยนําทีม กลุ่มจิตรกรอาสา ร่วม ‘ลงสี’ วันแรก สัตว์ป่าหิมพานต์ งานพระเมรุมาศ. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/royal/1038010

นครศรีดีย์. (2560). งานศิลปะใจกลางเมืองนคร ภาพวาดถวายพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 Street Art ครบทุกสถานที่. สืบค้นจาก https://nakhonsidee.com/show/read/2/11

ผู้จัดการออนไลน์. (2561, สิงหาคม 31). สวยงาม! ครูศิลปะจากกรุงเทพฯ ลงเบตงสร้างสรรค์ผลงาน “Street Art King Bhumibol”. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นจาก https://mgronline.com/south/detail/9610000087246

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560, กันยายน-ตุลาคม). In Remembrance of King Rama IX: พระเมรุมาศบุษบก 9 ยอด ศิลปกรรมชิ้นสุดท้าย แห่งรัชกาลที่ 9. BOT MAGAZINE, 5, หน้า 3-7.

ธัชชัย ยอดพิชัย. (2560, ตุลาคม). พระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9 ความพิเศษไม่เหมือนที่เคยมีมา. ศิลปวัฒนธรรม, 12, หน้า 34-39.

มติชนออนไลน์. (2560, มิถุนายน 23). เปิด…ภาพเขียนสีจิตรกรรม ‘พระที่นั่งทรงธรรม’. มติชนออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/education/news_588023

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร. (2560). สูจิบัตรนิทรรศการพระราชาในดวงใจ. กรุงเทพฯ: หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร.

อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ์. (2560, ตุลาคม). แหล่งสร้างสรรค์งานประกอบพระเมรุมาศในหลวงรัชกาลที่ 9. ศิลปวัฒนธรรม, 12, หน้า 40-50.

แอดมินแคมปัส-สตาร์. (2559). นศ. คณะจิตรกรรมฯ ศิลปากร ร่วมใจกันวาดภาพในหลวงรัชกาลที่ 9. สืบค้นจาก https://campus.campus-star.com/variety/21599.html

POSH MAGAZINE THAILAND. (2559). Project Our Beloved King. สืบค้นจาก http://poshmagazinethailand.com/project-our-beloved-king/

Street Art King Bhumibol. (2562). Street Art King Bhumibol. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/StreetArtKingBhumibol/

Suchaya.t. (2560). แชะภาพ 6 สตรีทอาร์ต (Street Art) สุดประทับใจ “ภาพวาด พระบรมสาทิสลักษณ์ในหลวง ร.9”. สืบค้นจาก https://today.line.me/th/v2/article/yQx5G1

Wutt T. (2560). เปิดใจ!! ผู้สร้างประติมากรรมแสงเงา ในหลวง ร.9. สืบค้นจาก https://news.mthai.com/general-news/545936.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-04-2023