การจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในยุคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • พงษ์พัต วัฒนพงศ์ศิริ คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ภาสกร ดอกจันทร์ คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การศึกษา, โควิด-19

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากโควิด-19 ที่มีต่อการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย และเพื่อเสนอแนวทางในการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย จากการศึกษาพบว่าโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสังคม และมหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบโดยตรง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐจะต้องปรับตัวในทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดย นำแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาปรับใช้ ได้แก่ การปรับรูปแบบการเรียนการสอน การปรับรูปแบบการทำงานในสถานศึกษา การให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา การบริหารจัดการด้านการเงินการคลังในรูปแบบใหม่ ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาดังนี้ 1) ส่งเสริมการฝึกอบรมพัฒนาการใช้เทคโนโลยีให้กับบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน 2) สร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และระบบอีเลิร์นนิ่ง เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงาน 3) จัดอุปกรณ์การเรียนการสอนให้กับนักศึกษาที่ไม่มีความพร้อม 4) สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทั้งในลักษณะค่าตอบแทนและสิ่งที่ไม่ใช่ค่าตอบแทน 5) ปรับรูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 6) สนับสนุนการการปฏิบัติงานที่มีลักษณะผ่านออนไลน์และปฏิบัติงานที่บ้าน และ 7) มหาวิทยาลัยต้องสร้างเครือข่ายและพัฒนาระบบการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการปรับตัวขององค์กรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน

References

กรมควบคุมโรค. (2564). ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในระดับโลกและในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1177420210915075055.pdf

กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2558). การบริหารการคลังสาธารณะ: ทฤษฎีการประยุกต์ใช้. พิษณุโลก: โรงพิมพ์ทิพย์เสนาการพิมพ์.

กัลยาณี เสนาสุ. (2565ก). การบริหารค่าตอบแทน. [เอกสารประกอบการสอนวิชา PA 931 การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อความเป็นเลิศ]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

กัลยาณี เสนาสุ. (2565ข). การบริหารผลการปฏิบัติงาน. [เอกสารประกอบการสอนวิชา PA 931 การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อความเป็นเลิศ]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

จิรกิติ์ ทองปรีชา. (2563). แนวทางการบริหารจัดการการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ระดับมัธยมศึกษา พื้นที่โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิรประภา อัครบวร และประยูร อัครบวร. (2558). บทเรียนจากการปฏิรูประบบบริหารราชการ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1), หน้า 1-28.

ชาลิณี ฐิติโชติพณิชย์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ระบบการทำงานทางไกล (Telework) ของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร: มอง “work from home” ผ่านงานวิจัย. The TSIS. สืบค้นจาก https://www.thetsis.com/post/work-from-home

ณัฐปคัลภ์ แซ่เอี้ย. (2562). พฤติกรรมการตั้งใจเรียนออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ และอมเรศ กลิ่นบัวแก้ว. (2564). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐไทย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19). วารสาร การบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(8), หน้า 27-44.

ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2559). 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์: แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปปฏิบัติจริง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณา วิจิตร และเธียรรัตน์ ธีร์ระพิบูล (2564). รูปแบบการทำงานที่บ้านของบุคลากรในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 8(1), หน้า 30-42.

วรินทร์ พูลผล และธันย์พัทธ์ ใคร้วานิช. (2564). การปรับตัวทางเทคโนโลยีภายหลังโควิด-19: กรณีศึกษานักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 16 ปีการศึกษา 2564. (หน้า 2030-2042). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2548). การจัดการภาครัฐแนวใหม่กับการบริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตย: สองกระแสความคิดในการบริหารงานภาครัฐ "ลูกค้า" หรือ "พลเมือง"?. รัฐศาสตร์สาร, 26(2), หน้า 35-86.

วัยวุฒิ บุญลอย, ธีรังกูร วรบำรุงกุล, มนตรี วิชัยวงษ์ และเริงวิชญ์ นิลโคตร. (2564). โควิด-19 กับ การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสังคม. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(1), หน้า 44-57.

เศกสรรค์ คงคชวัน. (2556). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การบริหารส่วนตำบลควนศรี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, (6)3, หน้า 228-247.

Denhardt, J.V., & Denhardt, R.B. (2007). The New Public Service: Serving, Not Steering. New York and London: M.E. Sharpe.

Hood, C. (1991). A Public Management for All Season?. Public Administration, 69(1), pp. 3-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022