วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษา วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2563

ผู้แต่ง

  • สุเทวี คงคูณ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมทางการเมือง, ประชาธิปไตย, นักศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง 300 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คืออัตราร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 64 อยู่ในช่วงอายุ 19-21 ปี คิดเป็นร้อยละ 78 เป็นนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 29 และนักศึกษาส่วนใหญ่สังกัดสาขาวิชารัฐศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 58 การศึกษาระดับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษา ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน พบว่า ในภาพรวมมีระดับวัฒนธรรมทางการเมืองอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57 โดยมีระดับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ด้านการเคารพในกติกาของการปกครองระบอบประชาธิปไตยมากที่สุด (x̅=4.56) และน้อยที่สุด คือ ด้านการมองโลกในแง่ดีมีความไว้วางใจเพื่อนมนุษย์ (x̅=3.52) ปัญหานักศึกษายังขาดการเข้ามามีส่วนร่วมและการแสดงออกเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมือง ข้อเสนอแนะ คือ การกำหนดหลักสูตรเนื้อหาการเรียนรู้ที่สอดแทรกหลักประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรี และแสดงออกได้อย่างอิสระในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

References

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2554). รัฐกับสังคม: ไตรลักษณ์รัฐไทยในพหุสังคมสยาม. กรุงเทพฯ: พี.เพรส.

ทรงกต พิลาชัย. (2552). วัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยของข้าราชการเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิพาพร พิมพิสุทธิ์. (2542). พัฒนาทางการเมือง. กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ณรงค์ สินสวัสดิ์. (2539). จิตวิทยาการเมือง. (พิมพครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ออเรียนแทลสกอล่า.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2547). การอ่านวัฒนธรรมการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.

ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์. (2545). สภาพการพัฒนาประชาธิปไตยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ปัญญา ใช้เฮ็ง. (2538). วัฒนธรรมการเมืองของข้าราชการรัฐสภา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรรณวดี ขําจริง. (2552). การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พงษ์ศักดิ์ ทักษิณสุข. (2551). วิถีความเป็นประชาธิปไตยของประชาชนตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2529). วัฒนธรรมทางการเมืองและการกล่อมเกลา เรียนรู้ทางการเมือง. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ฮาซันพริ้นติ้ง.

สำราญ ทองสิงคลี. (2556). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของพนักงานส่วนตำบล อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สุจิต บุญบงการ. (2542). การพัฒนาการเมืองของไทย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2546). การเมือง: แนวความคิดและการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

อมร จันทรสมบูรณ์. (2551). กฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

Dahl, A. (1966). A Political Opposition in Western Democracies. New Haven: Yale University Press.

John, W. (1970). Research in Education, Englewood Cliff. New Jersey: Prentice-Hall Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022