การใช้พื้นที่บนเวทีในการแสดงนาฏศิลป์ไทย ในรูปแบบการรำชมสวน กรณีศึกษาการแสดงชุด ศกุนตลาชมสวน

ผู้แต่ง

  • สุนันทา เกตุเหล็ก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การใช้พื้นที่, รำชมสวน, ศกุนตลาชมสวน

บทคัดย่อ

การแสดงชุด ศกุนตลาชมสวน เป็นการแสดงประเภทรำเดี่ยวในรูปแบบการรำชมสวน ที่มีการใช้พื้นที่ในการแสดงแตกต่างจากการใช้พื้นที่ในรูปแบบการรำลงสรงทรงเครื่อง หรือรูปแบบการรำฉุยฉาย ที่เน้นให้ผู้แสดงอยู่ตำแหน่งกลางเวทีเป็นสำคัญ โดยเอกลักษณ์ของการแสดงรูปแบบการรำชมสวนนั้น ผู้แสดงจะเคลื่อนที่ไปตำแหน่งต่าง ๆ บนเวที เพื่อแสดงถึงการชื่นชมความงามตามธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ดอกไม้ นก เป็นต้น โดยคำนึงถึงหลักการของการเคลื่อนที่ในนาฏศิลป์ไทย ได้แก่ การเคลื่อนที่ตามความหมายของเนื้อร้อง การเคลื่อนที่ด้วยการร้องเอื้อนและทำนองเพลง และการเคลื่อนที่ตามเพลงหน้าพาทย์ นอกจากนี้ ยังมีการใช้ทิศทางและพื้นที่ที่หลากหลายสอดคล้องกับขนบจารีตการใช้พื้นที่ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยและการสื่อความหมายทางการแสดง

References

ชมนาด กิจขันธ์. (2555). รำหน้าพาทย์ชั้นสูง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

ผุสดี หลิมสกุล.(2555). รำเดี่ยวแบบมาตรฐานตัวนาง เล่ม 2. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).

มัทนี รัตนิน. (2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะการกำกับการแสดงละครเวที. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มัทนี รัตนิน. (2555).ศิลปะการแสดงละคร (Acting) หลักเบื้องต้นและการฝึกซ้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฤทธิรงค์ จิวากานนท์. (2558). ภาพบนเวที. ใน นพมาศ แววหงส์ (บ.ก.). ปริทัศน์ศิลปะการละคร (หน้า 153-168). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุรพล วิรุฬรักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-08-2022