แนวทางในการพัฒนาความยั่งยืนของเกษตรกรรมในกลุ่มบ้านโฉนด ชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า กรณีศึกษาโรงสีชุมชน วิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนด ตำบลลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • วาสนา สุรีย์เดชะกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชินวัฒน์ ศาสนนันทน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุจิตรา ริมดุสิต วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

เกษตรอินทรีย์, คุณภาพชีวิต, ความยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาความยั่งยืนของการทำเกษตรกรรมในกลุ่มบ้านโฉนด ชุมชนคลองโยง-ลานตากฟ้า ตามหลักการเกษตรที่ยั่งยืนบนวิถีปกติใหม่โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม มีกลุ่มเป้าหมายในการเก็บข้อมูลอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นเกษตรกรโรงสีชุมชนของวิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนด จำนวน 30 คน ใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20-65 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการพัฒนาความยั่งยืนของการทำเกษตรกรรมคือ การทำเกษตรในแบบอินทรีย์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงาน มีสมาชิกพอเหมาะเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินการและใช้วิธีบอกปากต่อปากเพื่อให้เข้าถึงได้เร็วและมีความมั่นใจในคุณภาพมีจุดยืนของตัวเองคือจะไม่แจกฟรีเพื่อสร้างมูลค่าให้ผลผลิต มีการผูกปิ่นโตเพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ และการทำเกษตรอินทรีย์ทำให้ปลอดภัยในการบริโภคไม่มีสารเคมีปนเปื้อนทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคทำให้สุขภาพดียั่งยืนทำให้เกิดความเชื่อใจและเชื่อมั่น ต้องสร้างตลาดให้หลากหลายเพื่อความยั่งยืนในการผลิตและเน้นการพึ่งพาตนเองเพื่อให้อยู่ได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน

References

กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2554). เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร.

ง่ายงาม ประจวบวัน. (2558). การพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนชุมชนบ้านหลักเมตร ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 7(4), หน้า 90-123.

ทวนทัศน์ นิลดำ, รังสฤษดิ์ กาวีต๊ะ และนุชนาถ มั่งคั่ง. (2561). ความยั่งยืนของอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(3), หน้า 517-531.

ธันวา จิตต์สงวน. (2543). การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน: บทวิเคราะห์จากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ใน รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติครั้งที่ 1 ระบบเกษตรเพื่อการจัดการทรัพยากรและพัฒนาองค์กรชุมชนอย่างยั่งยืน. (หน้า 73-85). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมส่งเสริมการเกษตร.

วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล และจิราวัลย์ จิตรถเวช. (2555). การพัฒนาดัชนีและตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับภาคของประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 6(1), หน้า 135-163.

พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง. (2556). เอกสารคำสอน วิชา 02032413 การส่งเสริมเกษตรยั่งยืน (Extension of Sustainable Agriculture). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี. (2558). การขับเคลื่อนระบบเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านคอกช้าง ตำบลแหลมบัว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 7(1), หน้า 59-73.

มูลนิธิเกษตรยั่งยืน. (2546). เกษตรยั่งยืนวิถีการพึ่งตนเอง: โครงการนำร่องฯฟื้นภูมิปัญญาสร้างทุนชุมชน. กรุงเทพฯ: นกนางนวล.

สุภาธิณีสุขเกษม. (2559). การศึกษาแนวทางการพัฒนาเกษตรแบบยั่งยืนกรณีศึกษาโครงการเมืองเกษตรสีเขียวของกลุ่มเกษตรกร ตำบลบ้านสิงห์จังหวัดราชบุรี. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

องค์การบริหารส่วนตำบลลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. (2565). ข้อมูลจำนวนสมาชิกกลุ่มโรงสีชุมชนของวิสาหกิจชุมชนบ้านโฉนด ตำบลลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. สืบค้นจาก http://lantakfa.go.th/homepage

Barbier, E.B. (1987). The concept of sustainable economic development. Environmental Conservation, 14(2), pp. 101–110.

Lee, D.R. (2005). Agricultural sustainability and technology adoption: Issues and policies for developing countries. American Journal of Agricultural Economics, 87(5), pp. 1325-1334.

Segnestam, L. (2002). Indicators of Environment and Sustainable Development: Theories and Practical Experiences. Washington, DC: World Bank.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-08-2022