ทิศทางและการปรับรูปแบบการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)
คำสำคัญ:
ทิศทาง, การจัดการศึกษา, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การจัดการศึกษาเป็นภารกิจหนึ่งที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีรูปแบบการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการศึกษาเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยมีการกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้แก่ การจัดการศึกษาปฐมวัย การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา การจัดการศึกษานอกระบบ การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย และการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางความร่วมมือในการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยให้สามารถดำเนินการเป็นแนวทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นที่ประจักษ์และยอมรับของชุมชน กล่าวคือ ควรให้บุคลากรทางการศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ หน่วยงานต้นสังกัดควรมีการนิเทศ ติดตามและให้ความช่วยเหลือการจัดการเรียนรู้ของบุคลากรทางการศึกษาในสถานการณ์วิกฤติ ควรจัดอบรมการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบการจัดการเรียนการสอน และโปรแกรมการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้กับบุคลากรทางการศึกษา สามารถใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อจัดการเรียนการสอน รวมทั้งสอนให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพราะบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนรู้ หากบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพแล้ว ก็จะส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน คุณภาพของผู้เรียนจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของบุคลากรเป็นสำคัญ ทั้งนี้ทิศทางและการปรับรูปแบบการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ส่งเสริมรูปแบบการศึกษาไทยแบบนิวนอร์มอล (new normal) จะกลายเป็นกระบวนการจัดการศึกษาลักษณะใหม่ของประเทศไทยและจะกลายเป็นรูปแบบการศึกษาทางเลือกในอนาคต
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). การบริหารจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก https://sbmldinnovation.com/media/document/S__63029257.pdf
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก https://sbmldinnovation.com/
ธวัชชัย กรรณิการ์. (2559). ภารกิจการจัดการศึกษาของเทศบาลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สืบค้นจาก https://www.qa.kmutnb.ac.th/upload_files/pakadout/Orther/Edu_law42_v245.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นกับการสนับสนุนช่วยเหลือการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นจาก https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/education/download/article/article_20121012133329.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). บทบัญญัติด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)