การออกแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมย่านลิเภา จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
คำสำคัญ:
การออกแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม, หัตถกรรมย่านลิเภากลุ่มเป้าหมายบทคัดย่อ
การออกแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมย่านลิเภาจังหวัดนครศรีธรรมราชในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการสร้างช่างถมพันธุ์ใหม่ เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภาจังหวัดนครศรีธรรมราช บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมย่านลิเภาจังหวัดนครศรีธรรมราชให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการลงพื้นที่สำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบผลิตภัณฑ์เดิม และสัมภาษณ์กลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 5 ชุมชน พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่บริโภคผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภาแบ่งตามช่วงอายุมีอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 56-75 ปี กลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 40-55 ปี และกลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 20-39 ปี ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวแบ่งตามช่วงอายุละ 10 คน วิเคราะห์และประมวลผลจากความต้องการในด้านต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การกำหนดทิศทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 5 ท่าน ทำการประเมินผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมย่านลิเภาประเภทกระเป๋าหิ้วรูปทรงทับยาวเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 56-75 ปี คิดเป็นร้อยละ 80 ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมย่านลิเภาประเภทเครื่องประดับต่างหูรูปทรงจินตนาการเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 40-55 ปี คิดเป็นร้อยละ 100 ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมย่านลิเภาประเภทเครื่องประดับสร้อยคอรูปทรงภูมิปัญญาเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 40-55 ปี คิดเป็นร้อยละ 60 ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมย่านลิเภาประเภทเครื่องประดับกำไลรูปทรงภูมิปัญญาเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 40-55 ปี คิดเป็นร้อยละ 60 ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมย่านลิเภาประเภทกระเป๋าสะพายข้างรูปทรงสี่เหลี่ยม และรูปทรงใบโพธิ์ มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากัน เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 20-39 ปี คิดเป็นร้อยละ 40 จากนั้นผู้วิจัยทำการออกแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมย่านลิเภาจังหวัดนครศรีธรรมราชให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
References
เกษม มานะรุ่งวิทย์ และกรชนก บุญทร. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือบ้านหมาบหม้อ จังหวัดชลบุรี.วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 4(3), หน้า 22-35
จารุพัฒน์ นุกูล. (2563). องค์ความรู้: เครื่องถมนคร. สืบค้นจาก https://www.finearts.go.th/fad12/view/26304
ทินกร สุทธิพรม และพรชัย ศักดิ์ศิริโสภณ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกผ้าย้อมครามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านบ้านบกจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 17(1), หน้า 1-17
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ. (2563). งานศิลปหัตกรรมประเภทจักสานย่านลิเภา. สืบค้นจากhttps://www.sacict.or.th/uploads/items/attachments/a16c4fcdf57c6ec5ed30e21c1ae0df74/_2c7d707bf2e9b8a3008abe05c37f96fb.pdf
สุธีรา อะทะวงษา. (2560). การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)