การให้ความหมายตนเองที่ทำให้ครูกะเทยถูกตีตรา และเลือกปฏิบัติทางสังคมในโรงเรียน
คำสำคัญ:
การให้ความหมายตนเองของครูกะเทย, การเลือกปฏิบัติทางสังคม, การถูกตีตราบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ความหมายตนเองที่ทำให้ “ครูกะเทย” ถูกตีตรา และเลือกปฏิบัติทางสังคมในโรงเรียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบปรากฏการณ์วิทยาเชิงวิภาษวิธี โดยใช้การสนทนาโต้ตอบทำความเข้าใจประสบการณ์ดำเนินชีวิตในแต่ละวันของครูกะเทย อาศัยการแนะนำจากคนที่รู้จักของผู้ช่วยเหลือแนะนำ โดยรวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 10 คน จากนั้นทำการวิเคราะห์ตัวบท จัดระบบข้อมูล จัดทำรหัสข้อมูล ให้ชื่อข้อมูล วิเคราะห์และจัดประเภทข้อมูล และเชื่อมโยงมโนทัศน์เพื่อจัดทำเป็นแนวทางในการสร้างความเข้าใจของเรื่องราว และนำมาตีความวิเคราะห์อย่างวิภาษวิธี เน้นการสนทนา ผลการวิจัยพบว่า ครูกะเทยผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม แล้วสร้างภาพลักษณ์ของตนเองสู่สังคมภายใต้ความคาดหวังของตนเองและสังคมในสถานการณ์การตีตรา ซึ่งการให้ความหมายมีอิทธิพลต่อการตีตราและการเลือกปฏิบัติ และในสถานการณ์การเลือกปฏิบัติที่มี ต่อครูกะเทย ทั้งนี้ ครูกะเทยให้ความหมายตนเอง 4 ประการ คือ 1) เป็นครูผู้ชายที่แสดงออกท่าทางและพฤติกรรมแบบผู้ชาย 2) เป็นครูผู้ชายที่แสดงอากัปกริยาตุ้งติ้ง 3) เป็นครูผู้ชายที่แสดงออกทางพฤติกรรมและความชอบในลักษณะเกย์ และ 4) เป็นครูผู้หญิงคนหนึ่งในโรงเรียน ที่มีเพียงคำนำหน้าชื่อว่า “นาย”
References
กิตติกร สันคติประภา. (2550). การลวนลามทางเพศกะเทย: นัยสำคัญภายใต้วาทกรรมรักต่างเพศ. ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธีรนงค์ สกุลศรี กนกวรรณ ธราวรรณ และคมกฤช ตะเพียนทอง. (2560). พันธนาการข้ามยุค: อุดมการณ์เพศดิ้น (ไม่เคย) ได้. วารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 17(2), หน้า 91-108.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2559). เพศและความเป็นชายในพุทธศาสนากับการควบคุมภิกษุ สามเณร และบัณเฑาะก์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(1), หน้า 3-25.
ปริยศ กิตติธีระศักดิ์. (2560). ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำนิยามในการศึกษาถึงความหลากหลายทางเพศในคนกลุ่มน้อยทางเพศในประเทศไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(2). หน้า 1-15.
พิชัย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2555). ปรัชญาสังคมศาสตร์และกระบวนทัศน์ในการแสวงหาความรู้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 1(1), หน้า 78-88.
สถิตย์ นิยมญาติ. (2561). คุณลักษณะที่โดดเด่นบางประการของผู้บริหารของรัฐชั้นเยี่ยม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 1(2), หน้า 78-92.
สิทธิโชค วรานุสันติกุล. (2546). จิตวิทยาสังคม: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด.
สุธีรา สีมา, ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์, สุรีพร อนุศาสนนันท์ และทรงวุฒิ อยู่เอี่ยม. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและแนวทางการส่งเสริมความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 4(1), หน้า 100-117.
สุริชัย หวันแก้ว. (2550). คนชายขอบ: จากความคิดสู่ความจริง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อัยฤทธิ์ ธิลา. (2560). มายาคติเพศวิถี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุรพงศ์ แพทย์คชา และสุรกิจ ปรางสร. (2555). การนำเสนอความเป็นเพศวิถีผ่านสื่อภาพยนตร์ไทย: ในมิติความเป็นจริงของสังคมไทย. วารสารนักบริหาร (มหาวิทยาลัยกรุงเทพ), 32(4), หน้า 147-155.
Braun, V., & Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in psychology. Qualitative Research in Psychology, 3, pp. 77-101.
Denzin, N.K. & Lincoln, Y.S. (2000). Handbook of Qualitative Research. (2nded.). Thousand Oaks, California: Sage Publication.
Dubrin, A.J. (1996). Human relations for career and personal success. New Jersey: Prentice-Hall.
Herek, G.M. (1986). On heterosexual masculinity: Some psychical consequences of the social construction of gender and sexuality. American Behavioral Scientist, 29(5), pp. 563–577.
Lincoln, Y.S. & Guba, E.G. (1985). Naturalistic inquiry. Newbury Park, CA: Sage Publications.
Link, B.G. Phelan, J,C. (1999). Labeling and stigma.In The Handbook of the Sociology of Mental Health. (pp. 481–494). New York: Plenum.
Martin King Whyte. (2015). The Status of Women in Preindustrial Societies. NJ: Princeton University Press.
Morse, J.M. (2000). Determining sample size. Qualitative Health Research, 10(1), pp. 3–5.
Neuman, W.L. (2000). Social research methods qualitative and quantitative approaches. (4thed). Madison: University of Wisconsin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)