ภาษาไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม; ความเรียบง่ายที่ไม่ได้รับการยอมรับ

ผู้แต่ง

  • กมลชนก ธรรมมิกะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลงของภาษา, จอมพล ป. พิบูลสงคราม, ภาษาไทยถิ่นยะลา

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับภาษาไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ความสอดคล้องและความแตกต่างระหว่างภาษาไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามกับการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันและข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสาเหตุที่ภาษาไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในสมัยนั้น โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับภาษาไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้แก่ การยกเลิกการใช้ตัวอักษรที่เป็นพยัญชนะจำนวน 13 ตัว ได้แก่ ฃ ฅ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ และ ฬ การยกเลิกสระจำนวน 5 ตัว ได้แก่ ใ-, ฤ, ฤๅ, ฦ และ ฦๅ ส่วน ญ ให้ปรับรูปเขียนเป็น  แทน ในการวางระเบียบการใช้คำศัพท์ได้แก่กำหนดให้ใช้คำสรรพนามในบางคำเท่านั้น ได้แก่ ฉัน เรา ท่าน ท่านทั้งหลาย เขา เขาทั้งหลาย มัน และพวกมัน โดยจำแนกตามบุรุษและพจน์  กำหนดให้ใช้คำตอบรับ ได้แก่ จ้ะ ค่ะ และครับ และกำหนดให้ใช้คำปฏิเสธ ได้แก่ ไม่ และ เปล่า โดยคำศัพท์ทั้งหมดข้างต้นยังคงมีการใช้จนถึงปัจจุบันแต่มีจำนวนคำและความหลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าภาษาไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม จะมีความเรียบง่ายและกะทัดรัด แต่ก็ไม่ได้รับการยอมจากประชาชนในสมัยนั้น สันนิษฐานว่ามาจากการเปลี่ยนแปลงภาษาไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นการเปลี่ยนแปลงของภาษาโดยปัจจัยภายนอกและขัดแย้งกับทัศนคติที่มีต่อภาษาของประชาชนในสมัยนั้น การใช้ตัวอักษรตามแบบที่กำหนดอาจทำให้ไม่ทราบที่มาของคำยืมจากภาษาต่างประเทศ และการวางระเบียบการใช้คำศัพท์ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์การใช้ภาษาในสังคมไทย

References

กมลชนก ธรรมมิกะ. (2559). ฑ-นางมณโฑ: หน่วยเสียงและอักษรภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กาญจนา นาคสกุล. (2540). คำสรรพนามในภาษาไทยสะท้อนวัฒนธรรมไทย. สืบค้นจาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges

กำชัย ทองหล่อ. (2554). หลักภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 53). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2540). จอมพล ป. พิบูลสงครามกับการเมืองไทยสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการ ตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2564). การปรับปรุงตัวอักษรและอักขรวิธีไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม.วารสารอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. (20)1, หน้า 5-21.

ชนกพร อังศุวิริยะ. (2559). ภาษากับสังคม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

นันทนา รณเกียรติ. (2554). สัทศาสตร์ ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิตยา กาญจนวรรณ. (2555). เครื่องมือเปลี่ยน ภาษาเปลี่ยน. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 37(2), หน้า 75-92.

นิตยา กาญจนวรรณ. (2556). คำลงท้ายในภาษาไทย. สืบค้นจาก http://legacy.orst.go.th

ประเสริฐ ณ นคร. (2549). อักษร ภาษา จารึก วรรณกรรม. กรุงเทพฯ: มติชน.

ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องการปรับปรุงอักสรไทย (2485, 1 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกสา. เล่มที่ 59 ตอนที่ 35. หน้า 1137-1141.

ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องวางระเบียบ คำแทนชื่อ คำรับ คำปฏิเสธ (2485, 23 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกสา. เล่มที่ 59 ตอนที่ 41. หน้า 1301-1303

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2555). อันเนื่องมาแต่พจนานุกรมคำเก่าในภาษาไทย ฉบับชะเลยสัก. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ศิลปวัฒนธรรม. (2564). “ครับ-ค่ะ” เริ่มใช้เมื่อใด ส่องการปรับ “ภาสาไทย” ฉบับจอมพล ป.เพื่อความเป็น “ไทย” ?. สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com/history/article_32885

สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (ม.ป.ป.). ระบบเสียงภาษาไทยออนไลน์. สืบค้นจาก http://pirun.ku.ac.th/~fhumalt/TSS/Consonant_thai.html

สมทรง บุรุษพัฒน์. (2560). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

อมรา ประสิทธิรัฐสินธุ์. (2545). ภาษาในสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2550). วิวัฒนาการอักษรละอักขรวิธีไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2531). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Baker, A. & Hengeveld, K. (2012). Linguistics. Oxford: Blackwell Publishing.

Calfee, R. (2005). “The exploration of English Orthography.” In T.R. Trabasso. (Ed.). FromOrthography to pedagogy: essays in honor of Richard. L. Venezky. Hillsdale, N.J.: Lawrence Erlbaum, pp. 8-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2022