อาชญากรรมการศึกษา: ศึกษากรณีการจ้างทำวิทยานิพนธ์และผลงานวิชาการ

ผู้แต่ง

  • นิธินันท์ พุทธวิริยากร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อาชญากรรมการศึกษา, ความไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการ, จ้างทำวิทยานิพนธ์และผลงานวิชาการ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มุ่งศึกษากระบวนการจ้างทำวิทยานิพนธ์ จากการสัมภาษณ์ผู้จ้างและผู้รับจ้าง ข้อมูลเอกสาร เพื่อนำมาวิเคราะห์ความเป็นอาชญากรรมของการจ้างทำวิทยานิพนธ์ รวมทั้งศึกษารูปแบบ วิธีการจ้างทำ เพื่อวิเคราะห์และเชื่อมโยงปัญหาในระดับบุคคล สถาบัน และสังคม จากการศึกษา พบว่า 1) การจ้างทำวิทยานิพนธ์มีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งทางโทรศัพท์, อีเมล และสื่อสังคมออนไลน์ ผ่านคนกลาง แล้วจึงติดต่อกับผู้รับจ้าง ส่วนค่าจ้างขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน ผู้ว่าจ้างให้เหตุผลที่จ้างว่าไม่มีเวลาค้นข้อมูลหรือลงพื้นที่ แต่เพื่อให้สำเร็จการศึกษาจึงจ้างทำ ส่วนผู้รับจ้างบอกว่าเพื่อช่วยเพื่อนหรือคนรู้จัก และมีค่าตอบแทนสูง 2) เมื่อนำมาวิเคราะห์ทั้งในระดับบุคคล สถาบัน และสังคมแล้ว ต่างได้รับผลกระทบเหมือนกัน โดยระดับบุคคลพบว่าผู้จ้างและผู้รับจ้างต่างมีทางเลือกที่จะทำผิดหรือไม่ แต่เพื่อบรรลุเป้าหมายจึงเลือกกระทำผิด จากนั้นส่งผลถึงระดับสถาบัน เมื่อกระทำความผิดมากขึ้น ทำให้สถาบันได้บุคลากรไม่ตรงตามต้องการ และระดับสังคม หากกระบวนการนี้ยังอยู่ จะส่งผลกระทบเป็นปัญหาสังคมได้ และ 3) เมื่อนำมาวิเคราะห์ความเป็นอาชญากรรม พบว่า ในด้านอาชญาวิทยา การจ้างทำวิทยานิพนธ์ถือเป็นอาชญากรรมในแง่มีการกระทำความผิด ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างเลือกกระทำความผิดทั้งที่ไม่ทำได้ เพราะต้องการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดคือสำเร็จการศึกษา หรือได้เลื่อนตำแหน่ง โดยไม่คำนึงถึงวิธีการ ขณะที่ด้านจริยธรรม แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) หากสิ่งนั้นสร้างความสุขให้กับบุคคลถือว่าไม่ผิด และ 2) ตามศีลธรรม การจ้างทำวิทยานิพนธ์เป็นความผิด ไม่ควรกระทำ จึงควรคำนึงถึงบริบทแต่ละสังคมว่ามีแนวคิดด้านจริยธรรมอย่างไร

References

ตวงพร สังข์แก้ว. (2559). การศึกษาอิทธิพลปัจจัยเชิงสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะเปลี่ยนงาน และคุณภาพชีวิตของพนักงานคุมประพฤติ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 8(1), หน้า 21-40.

ไทยรัฐออนไลน์. (2556, 23 พฤศจิกายน). อึ้ง นศ.ยอมรับเคยโกงสอบเกือบ 9 หมื่น. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/384720

พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พุทธศักราช 2562. (2562, 26 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 58-76.

เมษยา โรจนอารีย์. (2559). การฉ้อฉลทางวิชาการ: ศึกษาการกำหนดความผิดอาญาฐานรับจ้างทำวิทยานิพนธ์. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายอาญา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฤดีมน ศรีสุพรรณ. (2543). สังคมวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). แรงจูงใจและความคาดหวังในการศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(3), หน้า 181-192.

เสาวลักษณ์ นิกรพิทยา. (2558). การพัฒนาทุนมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์,มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อรวรรณ บุญสม. (2562). การกำหนดความผิดอาญา: ศึกษากรณีการทุจริตสอบของทางราชการ. Graduated Law Journal, 12(1), หน้า 196-203.

Brown, S.E., Esbensen, F., & Geis, G. (2019). Criminology Explaining Crime and Its Context. (10th ed.) USA: Routledge.

Chan, C. M., Othman, J., D’Silva, J.L., & Omar, Z. (2014). Ethical Decision Making in Academic Dishonesty with Application of Modified Theory of Planned Behavior: A Review. Canadian Center of Science and Education, 7(3), pp. 126-135.

Sendag, S., Duran, M., & Fraser, M.R. (2012). Surveying the extent of involvement in online academic dishonesty (e-dishonesty) related practices among university students and the rationale students provide: One university’s experience. Computers in Human Behavior. 28, pp. 849-860.

Sung, J.J & Agner, R. (2015). Strain Theories and Crime. In James D. Wright (Ed.), International Encyclopedia of the Social & Behavioral Sciences. (pp. 495-500) USA: Elsevier.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021