พัฒนาการของการแสดงหุ่นละครเล็ก: “ครุฑานุภาพ”
คำสำคัญ:
หุ่นละครเล็ก, การแสดงหุ่นละครเล็ก, คณะนาฏยศาลาหุ่นละครเล็ก, ครุฑานุภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และพัฒนาการของการแสดงหุ่นละครเล็ก รูปแบบและองค์ประกอบการแสดงละครหุ่นละครเล็ก ชุด ครุฑานุภาพ ของคณะนาฏยศาลาหุ่นละครเล็ก เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมกับนักวิชาการด้านศิลปะการแสดงไทย และบุคคลในคณะนาฏยศาลาหุ่นละครเล็ก จากนั้นนำข้อมูลมาสังเคราะห์ด้วยวิธีการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า คณะนาฏยศาลาหุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์) เป็นคณะหุ่นละครเล็กที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน สืบทอดมาจากนายแกร ศัพทวนิช นายทองอยู่ และนางหยิบ ศัพทวนิช หลังจากนั้นคือ นายสาคร ยังเขียวสด จนมาถึงในยุคปัจจุบันผู้ที่สืบทอด ได้แก่ นายพิสูตร และนายสุรินทร์ ยังเขียวสด ทายาทของนายสาคร ภายใต้ชื่อคณะนาฏยศาลาหุ่นละครเล็กจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบการแสดงหุ่นละครเล็กให้มีความร่วมสมัย โดยการแสดงชุดครุฑานุภาพนั้น ได้มีการสร้างสรรค์การแสดงโดยพัฒนาแนวคิด รูปแบบและองค์ประกอบการแสดงในด้านต่าง ๆ ได้แก่ บทละคร ลักษณะหุ่น เครื่องแต่งกาย ดนตรีที่ใช้ในการแสดง ฉาก เทคนิคในการแสดง และการออกแบบท่ารำให้มีความร่วมสมัยตามแบบฉบับของคณะนาฏยศาลาหุ่นละครเล็ก
References
จำนง ทองประเสริฐ. (2518). พจนานุกรมไทย. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แพร่พิทยา.
จุฑาพรรธ์ ผดุงชีวิต. (2551). วัฒนธรรม การสื่อสาร และอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พรินท์.
นาฏยศาลาหุ่นละครเล็ก. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายสาคร ยังเขียวสด ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (หุ่นละครเล็ก) พุทธศักราช 2539. (2550). นนทบุรี: J WAN ADVERTISING SOLLUTION LIMITED.
ผกามาศ จิรจารุภัทร. (2550). รายงานการวิจัยการดำรงอยู่และการปรับตัวของคณะนาฏยศาลาหุ่นละครเล็ก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
พรภัทรา จันทฉายา และรัต์พิไล คูชัมภู. (2557). เทคโนโลยีโฮโลแกรม. สืบค้นจากhttps://www.slideshare.net/snowdome/hologram-technology
สน สีมาตรัง, เยาวนุช เวชศร์ภาดา และ พัชรี ศกศวัตเมฆินทร์. (2540). หุ่นละครเล็ก สื่อลีลาศิลป์สืบทอดจิตวิญญาณไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แปลนโมทิฟ.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: ภาควิชานาฏศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)