จิตรกรรมฝาผนังวิหารน้อย วัดอินทาราม บางยี่เรือ
คำสำคัญ:
จิตรกรรมฝาผนัง, วัดอินทาราม, สัญลักษณ์มงคลในศิลปะจีนบทคัดย่อ
วัดอินทาราม บางยี่เรือ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาและมีความสำคัญมากขึ้นในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งหมดและสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชกุศล เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชสวรรคต วัดถูกทิ้งร้างและได้รับการปฏิสังขณ์ใหม่อีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ด้านท้ายพระอุโบสถมีแถวของวิหารน้อย 4 หลัง คั่นสลับด้วยเจดีย์ทรงเครื่อง 3 องค์ เชื่อว่างานจิตรกรรมฝาผนังที่อยู่ภายในถูกสร้างขึ้นในสมัยนี้ จิตรกรรมฝาผนังในวิหารน้อยถูกเขียนด้วยสีผุ่นแบบไทยประเพณี เนื้อหาภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนปรินิพพาน ความเชื่อเกี่ยวกับการเดินทางไปสักการะบูชารอยพระพุทธบาท และสัญลักษณ์มงคลในศิลปะจีนที่ประดับไว้เพื่ออวยพรให้กับผู้ที่มาสักการะพบแต่สิ่งดีงาม ความเชื่อเหล่านี้สะท้อนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของผู้คนในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่ยังผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา แสดงความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยและชาวจีนที่เป็นผลมาจากการติดต่อค้าขายอย่างมากในสมัยนั้น อีกทั้งสะท้อนภาพความรุ่งเรืองของย่านตลาดพลูซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีเรื่อยมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์
References
ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา. (2526). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
ธวัชชัย ดุลยสุจริต. (2545). สัญลักษณ์มงคลจีนสืบสานจิตวิญญาณบรรพชน. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ. (2438). พระปฐมสมโพธิกถา. พระนคร: วัชรินทร์.
ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล. (2553). 108 สิ่งมิ่งมงคลจีน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พระพรหมคุณาภรณ์. (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
สมฤดี กฤตเมธากุล. (2555). วัดการศึกษาจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรศิริ ปาณินท์. (2530). รูปสัญลักษณ์แทนความหมายต่าง ๆ ในวัดจีน. หน้าจั่ว, 7, หน้า 80-104.
อ็องรี มูโอต์ (เขียน) กรรณิการ จรรย์แสง (แปล). (2558). บันทึกการเดินทางของอ็องรี มูโอต์ ในสยาม กัมพูชา ลาว และอินโดจีนตอนกลางส่วนอื่นๆ. กรุงเทพฯ: มติชน.
อุษาวดี รัศมีวงศ์. (2527). ภาพจิตรกรรมเครื่องบูชาอย่างจีนในศิลปะรัตนโกสินทร์. สารนิพนธ์ศิลป ศาสตรบัณฺฑิต สาขาวิชาโบราณคดี, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Eberhard, W. (1986). A Dictionary of Chinese Symbols: Hidden Symbols in Chinese Life and Thought. London: Routledge & Kegan Paul.
Kuwayama, G. (1992). New Perspectives on the Art of Ceramics in China. Los Angeles: Los Angeles County Museum.
Li, Siyuan & Chen, Along. (2021). Candles symbolize happiness, nostalgia in literature. Retrieved from http://www.csstoday.com/Item/5288.aspx
Lu, E. (2021). An Interesting History of Incense Burning in China. Retrieved from https://www. nspirement.com/2020/02/24/an-interesting-history-of-incense-burning-in-china2.html
Williams, C.A.S. (2006). Chinese symbolism and art motifs : a comprehensive handbook on symbolism in Chinese art through the ages with over 400 illustrations. North larendon, Vt.: Tuttle.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)