กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญาท้องถิ่น, กระบวนการถ่ายทอด, การดูแลสุขภาพตนเองผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไปยังผู้รับและประเมินผลการเรียนรู้การถ่ายทอดการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ผู้สูงอายุจำนวน 398 คน จากการสุ่มหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและ กลุ่มที่ 2 การศึกษาเชิงคุณภาพ ศึกษาใน 6 อำเภอ โดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อมตามวิถีชีวิตชุมชน โดยมีการใช้พืชพรรณและทรัพยากรธรรมชาติในแหล่งที่อยู่อาศัยมาใช้เป็นอาหารและยาในการดูแลสุขภาพของตนเอง 2) กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไปยังผู้รับ พบว่า ศักยภาพของบุคคลด้านความรู้ ทัศนคติ ความเชื่อและผลการใช้ส่งผลต่อพฤติกรรมการถ่ายทอดที่เหมาะสมกับบริบททางสังคมด้วยการบอกเล่า การปฏิบัติจริงและการสาธิต และ 3) ผู้สูงอายุเป็นทั้งผู้ถ่ายทอดและผู้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญา โดยสามารถบอกเล่าถึงผลการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองแก่ผู้อื่นที่นำไปใช้และสามารถใช้สื่อเรียนรู้ในการถ่ายทอดอย่างสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการบริหารจัดการในระบบสังคมอย่างเหมาะสมต่อการมีสุขภาพที่ดี
References
กรรณิการ์ ชมพูศรี และปารณัฐ สุขสุทธิ์. (2550). รายงานผลการดำเนินงานโครงการการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นการดูแลและสร้างเสริมสุขภาวะคนพิการ กรณีเครือข่ายหมอพื้นบ้าน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
จักรพันธ พรมฉลวย. (2559). การมีสวนร่วมของประชาชน ปราชญชาวบ้านและผู้นำทองถิ่นในการส่งเสริมนโยบายด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง, มหาวิทยาลัยบูรพา.
จักรพันธ์ พรมฉลวย. (2564). การศึกษาสุขภาวะของผู้สูอายุในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 4(1), หน้า 59-84.
ณัฏฐ์ฐภรณ์ ปัญจขันธ์. (2556). กระบวนการการถ่ายทอดภูมิปัญญาและการเยียวยาเพื่อการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนของแพทย์พื้นบ้านจังหวัดลำปาง. ลำปาง: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง.
ลัดดา สุทนต์. (2551). การใช้ภูมิปัญญาของผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ: ศึกษากรณี ชมรมผู้สูงอายุในเครือข่ายของสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2556). การสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวสำหรับประเทศไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: ทีคิวพี.
สุนทรธรรมโสภณ, พระครู. (2553). สังเคราะห์บทเรียนการจัดการความรู้ สู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์.
สมบัติ พรมพันหาว. (2551). แนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้สูงอายุในโครงการส่งเสริมศักยภาพการใช้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2551). ทฤษฎีทางสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สุมาลี สังข์ศรี. (2550). ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2(3), หน้า 99-100.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2552). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ, (2564). แผนพัฒนาจังหวัดฉบับทบทวน 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565). สมุทรปราการ: กลุมงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ.
สำนักทะเบียนราษฎร์จังหวัดสมุทรปราการ. (2563). จำนวนประชากรผู้สูงอายุ ประจำปี พ.ศ. 2563. สืบค้นจาก http://www.samutprakan.go.th/m_n3_2.php
Madeleine, M.L. (2001). The theory of culture care diversity and universality: A theory of nursing series. University of Michigan: Jones and Bartlett.
María, de la Luz.et al. (2007). Program of active aging in a rural mexican community: A qualitative approach. Retrieved from https://bmcpublichealthdcentral.com/articles/10.1186/1471-2458-7-276
Orem, D.E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. 2001. Nursing: Concepts of practice. (6th ed.). St. Louis: Mosby.
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. (3rd ed.). Tokyo: Harper International Edition.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)