การจัดการความรู้กลุ่มอนุรักษ์ปลาสลิด อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐภรณ์ เสารยะวิเศษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • พฤกษา ดอกกุหลาบ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • วารีพร ศักดิ์สมบูรณ์ สถาบันมะเร็ง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, กลุ่มอนุรักษ์ปลาสลิด, ปลาสลิด, บางบ่อ, สมุทรปราการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการความรู้กลุ่มอนุรักษ์ปลาสลิด อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ประชากรผู้ให้ข้อมูลคือ กลุ่มอนุรักษ์ปลาสลิดบางบ่อ จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เวทีประชาคม และถอดองค์ความรู้ ผลการวิจัยพบว่า การอนุรักษ์ปลาสลิด บางบ่อ คือ การเลี้ยงปลาด้วยวิธีแบบธรรมชาติ โดยการฟันหญ้าทำเป็นกองไว้ให้ปลามากิน เนื่องจากหญ้าที่เน่าเปื่อยจะเกิดแพลงตอนและไร ช่วยให้ปลาได้กินอาหารธรรมชาติตลอดเวลา ทำให้เนื้อปลาแน่น มีไขมันน้อย ไม่เหม็นคาว และรสชาติดี ส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงในนาข้าว ใช้น้ำจากคลองชลประทานและน้ำฝน ขยายพันธุ์โดยการปล่อยพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่สมบูรณ์แล้วลงในบ่อเลี้ยงตามธรรมชาติ ปัจจุบันมีพื้นที่ใช้เลี้ยงปลาสลิดลดน้อยลง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เช่า การเลี้ยงให้คุ้มทุนควรเลี้ยงมากกว่า 20 ไร่ขึ้นไป

References

กระทรวงการคลัง. (2558). ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแปรรูปและถนอมอาหารปลาสลิด. สืบค้นจาก http://taxclinic.mof.go.th

กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง. (2558). สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมประมง.

ขวัญใจ อุณหวัฒนไพบูลย์. (2557). ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดสมุทรปราการ. สยามวิชาการ, 15(1), หน้า 60-71.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2542). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์ภูมิปัญญาจังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.

จรีภรณ์ มีศรี. (2561, 28 สิงหาคม). ไขเคล็ดลับ…ทำไม ‘ปลาสลิด’ ต้องบางบ่อ จ.สมุทรปราการ. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก https://epl.thairath.co.th/news/ local/central/1364046

ชนะกานต์ เกตุมะยูร. (2553). การธำรงรักษาและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงปลาสลิดในเขตพื้นที่อำเภอบางปะกง. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชุติระ ระบอบ และคณะ. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดสู่ผู้ประกอบการ 4.0. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 10(1), หน้า 171-189.

ไชยา อุ้ยสูงเนิน. (2541). การเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: ฐานเกษตรกรรม.

ทรงพิศ ทรงประกอบ. (2556). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง การแปรรูปปลาสลิด สําหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน.อําเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

น้ำผึ้ง มีศิล. (2561). เอกลักษณ์ของปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ. ใน เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9. หน้า 764-773. สืบค้นจาก http://c:/Users/IS1/Downloads/ 1287-2622-1-SM.pdf

ปาริชาติ คุณปลื้ม และรัตยา โสวรรณปรีชา. (2559). การจัดการความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี, 12(6), หน้า 89-97.

พรรณราย แสงวิเชียร และคณะ. (2561). แผนธุรกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ปลาสลิดแปรรูปตามความต้องการของผู้บริโภค. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 10(1), หน้า 191-205.

พิมสิริ ภู่ตระกูล และคณะ. (2561). การรับรู้ในเอกลักษณ์ปลาสลิดบางบ่อและปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อปลาสลิดบางบ่อในมุมมองของผู้บริโภค. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 10(1), หน้า 155-170.

ศรัญญ์ทิตา ชนะชัยภูวพัฒน์. (2562). บรรจุภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ และแผนกลยุทธ์การสื่อสาร ปลาสลิดบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 11(3), หน้า 250-269.

ศุภกานต์ ศรีโสภาเจริญ. (2560). ปัญหาการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์: กรณีศึกษาปลาสลิดบางบ่อ.วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 13(1), หน้า 197-212.

ส. พุ่มสุวรรณ (นามแฝง). (2544). ปลาพื้นบ้านของไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

สมพันธ์ อภิรักส์ และวัฒนีย์ โรจน์สัมฤทธิ์. (2557). ภูมิปัญญาท้องถิ่นการเลี้ยงปลาสลิดด้วยชุดการสอนสำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 16(1), หน้า 161-175.

สุรีย์พร หอมวิเศษวงศา และคณะ. (2557). การวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในปลาสลิด ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3. (หน้า 419-424). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

สุวิทย์ วงษ์บุญมาก. (2557). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมหินอ่อนพรานกระต่ายอำเภอพรานกระต่ายจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

อ. พฤกษ์อำไพ (นามแฝง). (2542). ปลาสลิด. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: ฐานเกษตรกรรม.

เอกชัย พุมดวง. (2551). การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการเรียนรู้ในชุมชน. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 16(2), หน้า 94-104.

Nonaka, I. & Takeuchi, H. (1995). The knowledge-creating company. New York: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021