หน่วยคำคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษพยางค์เดียว ในข้อความโฆษณาสินค้ายี่ห้อยูนิโคล่ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จอมขวัญ สุทธินนท์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

คำสำคัญ:

การทับศัพท์, ส่วนประกอบของพยางค์, หน่วยคำ, ข้อความโฆษณา, ยูนิโคล่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์หน่วยคำคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษพยางค์เดียวในข้อความโฆษณาสินค้ายี่ห้อยูนิโคล่ประเทศไทยด้านการทับศัพท์และส่วนประกอบของพยางค์ แหล่งข้อมูลคือ จดหมายข่าวที่อยู่ในรูปแบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ของ UNIQLO Thailand ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562- 30 กันยายน 2563 รวมข้อความโฆษณา 836 ข้อความ มีหน่วยคำคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษพยางค์เดียว 45 หน่วยคำ ผลการวิเคราะห์ด้านการทับศัพท์พบหน่วยคำที่ทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์ 31 หน่วยคำ ปรากฏความถี่ 222 ครั้ง ตรงตามหลักการทับศัพท์ 4 ประเด็น ได้แก่ การทับศัพท์ที่ตรงตามตารางเทียบเสียงสระและพยัญชนะภาษาอังกฤษพบมากที่สุด รองลงมาได้แก่การทับศัพท์ที่ตรงตามหลักการใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต การทับศัพท์ที่ตรงตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน และการทับศัพท์ที่ตรงตามหลักการทับศัพท์กรณีพยัญชนะซ้อนตามลำดับ และพบหน่วยคำที่ทับศัพท์ไม่ตรงตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ 14 หน่วยคำ ปรากฏความถี่ 267 ครั้ง ผิดจากหลักการทับศัพท์ 4 ประเด็น ได้แก่ การทับศัพท์ไม่ตรงตามตารางเทียบเสียงสระและพยัญชนะภาษาอังกฤษพบมากที่สุด รองลงมาได้แก่การใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ การใช้ไม้ไต่คู้ และการทับศัพท์ไม่ตรงตามตารางเทียบเสียงสระและพยัญชนะภาษาอังกฤษ และไม่ตรงตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษกรณีการใช้ตัวสะกดร่วมกับการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ด้านส่วนประกอบของพยางค์พบหน่วยคำที่มีพยางค์แบบต่าง ๆ 5 แบบ ได้แก่ พยางค์แบบ C(C)VS1,3 พบมากที่สุด รองลงมาได้แก่พยางค์แบบ C(C)VVS1,2 พยางค์แบบ C(C)VVN0-4 แบบ C(C)VV0-4 และพยางค์แบบ C(C)VN0-4 ตามลำดับ

References

กาญจนา นาคสกุล. (2554). ระบบเสียงภาษาไทย. ใน กาญจนา นาคสกุล และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 1: ระบบเสียง อักษรไทย การอ่านคำและการเขียนสะกดคำ (พิมพ์ครั้งที่ 2). (หน้า 14-44). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

กาญจนา นาคสกุล. (2556). ระบบเสียงภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7 ฉบับแก้ไขปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประชาชาติธุรกิจ. (2564, เมษายน 11). “ยูนิโคล่” ขย่มหนักฟาสต์แฟชั่น ลุยออมนิแชนเนล ขนสินค้าใหม่ขยายฐาน. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/marketing/news-601590

นิตยา กาญจนะวรรณ. (2554). ปัญหาการใช้ภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญลักษณ์ เอี่ยมสำอางค์. (2554). การอ่านคำภาษาไทย. ใน กาญจนา นาคสกุล และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 1: ระบบเสียง อักษรไทย การอ่านคำและการเขียนสะกดคำ (พิมพ์ครั้งที่ 2). (หน้า 77-118). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

รุ่งรัตน์ ทองสกุล. (2562). คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ปรากฏในนิตยสาร Vogue Thailand. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 14(1), หน้า 54-66.

วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2541). พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย (SE-ED’S MODERN ENGLISH-THAI DICTIONARY (COMPLETE & UPDATED) DESK REFERENCE EDITION. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2526). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ: วิวัฒนาการภาษาไทยและภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2532, กันยายน 14). ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 106 ตอนที่ 153.

เสาวลักษณ์ แซ่ลี้. (2556). การออกเสียงวรรณยุกต์ในคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษในภาษาไทย. วารสารศิลปศาสตร์, 13(1), หน้า 17-32.

อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. (2553ก). คำยืมภาษาอังกฤษ. ใน วัลยา ช้างขวัญยืน และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2: คำ การสร้างคำ และการยืมคำ (พิมพ์ครั้งที่ 2). (หน้า 252-287). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. (2553ข). หน่วยคำ. ใน วัลยา ช้างขวัญยืน และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2: คำ การสร้างคำ และการยืมคำ (พิมพ์ครั้งที่ 2). (หน้า 13-31). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยในปริบทสังคมและวัฒนธรรม. ใน ประคอง นิมมานเหมินท์ และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 4: วัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). (หน้า 129-150). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

UNIQLO Thailand. (2562, ธันวาคม 19). MEN DRY-EX CREW NECK T-SHIRT (GRADATION) [email]. สืบค้นจาก https://mail.google.com/mail/u/0/?tab=rm&ogbl#search/uniqlo/FMfcgxwGCQZDWrhKdgJXwtDnVvFXZCJC

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2021