การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากรกมะพร้าว ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานก้านมะพร้าว น้ำตาล ท่าคา ให้เป็นผลิตภัณฑ์ Premium OTOP
คำสำคัญ:
รกมะพร้าว, การออกแบบผลิตภัณฑ์, อัดขึ้นรูปด้วยความร้อนบทคัดย่อ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากรกมะพร้าว ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานก้านมะพร้าว น้ำตาล ท่าคา ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ให้เป็นผลิตภัณฑ์ Premium OTOP มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยวัสดุและเทคนิคที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิม สร้างความแตกต่างจากคู่แข่งทางการตลาดในพื้นที่ใกล้เคียงกัน รวมถึงพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายให้หลากหลายสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น ตอบโจทย์พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางการขายออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน การพัฒนาสินค้าให้มีความแปลกใหม่ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเทคโนโลยีการอัดขึ้นรูปด้วยความร้อนมาทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานก้านมะพร้าว น้ำตาล ท่าคา โดยร่างแบบผลงานจำนวน 14 ชิ้น คัดเลือกออกมา 5 ชิ้น ด้วยการสอบถามความคิดเห็น ความพึงพอใจด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ จากกลุ่มตัวอย่าง 50 คน เพื่อนำมาผลิตงานทำต้นแบบ และได้ทดลองวางขายบนช่องทางขายสินค้าออนไลน์ จากการสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มลูกค้าจำนวน 100 คน หลังทำการวางขาย ผลการสำรวจจากแบบสอบถาม ได้ข้อสรุปดังนี้ กระเป๋าแบบที่ 4 กระเป๋าผ้าผูกสีขาว ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.9) หมวกแบบที่ 2 หมวกปีกกว้าง ความพึงพอใจที่อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.0) กระเป๋าแบบที่ 1 กระเป๋าแบบครึ่งวงกลม ความพึงพอใจที่มีต่อกระเป๋าถือรกมะพร้าวทรงครึ่งวงกลมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.0) กระเป๋าแบบที่ 2 กระเป๋าทรงกลม ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.0) กระเป๋าแบบที่ 5 กระเป๋าผ้าผูกสีดำ ความพึงพอใจที่อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.0)
References
นภัค ตรีแดงน้อย. (2560). จักสานก้านมะพร้าว ของดีเมืองแม่กลอง. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/market/sme/479218
ประดิษฐ์ อินทร์งาม. (2555). กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะภาพปะติด. สืบค้นจาก http://old.scbfoundation.com/projects/base.php?proj=1&sub=5&unit=33&id=546
วรรณกมล ทัพขันธ์. (2558). การสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ สืบค้นจาก https://www.maywankamol.blogspot.com/2015/11/blog-post.html
สุจิน สุนีย์ และธีรเวท ฐิติกุล. (2552). เครื่องอัดขึ้นรูปกระถางจากขุยและใยมะพร้าว. ปทุมธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เกียรตินารี ธชีพันธุ์. (2560). คนไทยไอเดียดี ภาชนะจากใบไม้สดใส่อาหาร ลดสารก่อมะเร็ง. สืบค้นจาก https://greenspace.market/คนไทยไอเดียดี-ภาชนะจากใ/
อภิชาติ ศรีสะอาด และณัฏฐ์ชญามนต์ ดินรมรัมย์. (2016). ครบเครื่องเรื่องมะพร้าว. สมุทรสาคร: นาคา อินเตอร์มีเดียร์.
Coconut53. (2553). รกมะพร้าวหรือเยื่อหุ้มมะพร้าว. สืบค้นจาก https://coconut53.wordpress.com/
MedThai. (2017). มะพร้าว สรรพคุณและประโยชน์ของมะพร้าว น้ำมะพร้าว 81 ข้อ!. สืบค้นจาก https://medthai.com/มะพร้าว/
Rubber Intelligence Unit. (2013). เทคโนโลยีการขึ้นรูปยาง (forming). สืบค้นจาก http://rubber.oie.go.th/Article.aspx?aid=3404
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)