ตระนิมิต: การเปรียบเทียบกระบวนท่ารำในนาฏศิลป์ไทย

ผู้แต่ง

  • อัมพร ใจเด็จ วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • อานนท์ หวานเพ็ชร์ วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

เพลงหน้าพาทย์, ตระนิมิต, นาฏศิลป์ไทย, กระบวนท่ารำ, เพลงครู

บทคัดย่อ

บทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์ตระนิมิตของตัวพระ โดย 1) ศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร 2) การสัมภาษณ์ และ 3) การถ่ายทอดกระบวนท่ารำ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นการเปรียบเทียบท่ารำของเพลงหน้าพาทย์ตระนิมิตในรูปแบบทางโขนและรูปแบบทางละครทางด้านนาฏศิลป์ไทย (ตัวพระ) เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลเป็นองค์ความรู้ด้านเพลงหน้าพาทย์ทางนาฏศิลป์ไทย ซึ่งพบว่าเพลงหน้าพาทย์ตระนิมิตทั้งสองรูปแบบนี้มีความแตกต่างในเรื่องของกระบวนท่ารำ คือท่ารำของเพลงหน้าพาทย์ตระนิมิตจะเริ่มต้นท่าด้วยท่ายืนก่อน เพื่อเป็นการเตรียมตัวในการรำเพลงหน้าพาทย์ตระนิมิต ซึ่งทางโขน มีจำนวนท่ารำ 5 ท่า ได้แก่ ท่าเทพพนม ท่าสอดสร้อยมาลา ท่านภาพร ท่าผาลาเพียงไหล่ และท่าแปลงกาย ส่วนของทางละครมี 7 ท่า ได้แก่ ท่าเทพพนม ท่าสอดสร้อยมาลา ท่านภาพร ท่าผาลาเพียงไหล่ ท่ากินนรรำ ท่ารำร่ายและท่าโบก ท่าป้องหน้าและท่ายืน ความแตกต่างของการรำเพลงหน้าพาทย์ตระนิมิตของทางโขนและทางละครที่ชัดเจนคือ 1) การเรียงท่ารำ 2) การนับจังหวะของท่ารำ 3) ทิศในการรำ และ 4) ท่าจบของกระบวนท่ารำ

References

จตุพร รัตนวราหะ. (2519). เพลงหน้าพาทย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเณศร์.

ชมนาด กิจขันธ์. (2555). รำหน้าพาทย์ชั้นสูง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นาเพรส.

ชมนาด กิจขันธ์. (2553). การรำเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง: เพลงตระ (ตัวพระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2564). หน้าพาทย์. สืบค้นจาก https://dictionary.orst.go.th/

ภาคคีตะ-ดุริยางค์. (2540). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราตรี ศรีสุวรรณ. (2542). รำเพลงหน้าพาทย์. สงขลา: สถาบันราชภัฏสงขลา.

สุรพล สุวรรณ. (2559). ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทิศ นาคสวัสดิ์. (2512). ทฤษฎีและการปฏิบัติดนตรีไทย ภาค 1. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรมของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษาและวัฒนธรรมสหประชาชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2021