เล็บ: บทบาทและความสำคัญต่อการแสดงนาฏศิลป์ไทย

ผู้แต่ง

  • ชนิดา จันทร์งาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์ไทย, เล็บปลอม

บทคัดย่อ

การแสดงทางด้านนาฏศิลป์ไทย นอกจากจะให้ความสำคัญกับกระบวนท่าในการร่ายรำที่เป็นเอกลักษณ์ของการแสดงแล้ว ยังให้ความสำคัญกับเครื่องแต่งกายประกอบการแสดงและอุปกรณ์ประกอบการแสดงที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของการแสดงนั้น ๆ ได้ชัดเจน เล็บนับว่าเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดงชนิดหนึ่งที่ปรากฏในการแสดงตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงการแสดงในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีวิวัฒนาการในการพัฒนาให้เหมาะกับยุคสมัย นอกจากนี้การสวมเล็บยังปรากฏในการแสดงทางด้านนาฏศิลป์พื้นบ้านตามภาคต่าง ๆ เช่น การแสดงฟ้อนเล็บ ภาคเหนือ การแสดงฟ้อนซวยมือ ภาคอีสาน การแสดงรำโนรา ภาคใต้ เป็นต้น กระบวนท่ารำและลีลาการเคลื่อนไหวในการใช้เล็บก็มีลักษณะแตกต่างกันตามบริบทของการแสดงในแต่ละภูมิภาค และแตกต่างตามลักษณะของเล็บที่สวมใส่กระบวนท่ารำของแต่ละการแสดงจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว การนำเล็บมาสวมใส่เป็นส่วนประกอบในการแสดงเพื่อให้เกิดความน่าสนใจมากขึ้น ทำให้การแสดงมีความสมบูรณ์ สวยงาม นอกจากนี้การสวมเล็บประกอบการแสดงยังแสดงให้เห็นถึงทักษะของนักแสดงในการใช้อุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถจัดวางตำแหน่งให้อยู่ในระดับที่ถูกต้องสวยงาม อีกทั้งยังสะท้อนภูมิปัญญาของคนไทยในอดีตซึ่งถือว่าเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมการร่ายรำที่สะท้อนเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของไทยได้เป็นอย่างดี

References

นราธิป ประพันธ์พงษ์. (2503). จดหมายเหตุลาลูแบร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์.

ธนาภรณ์ โพธิ์เพชร. (2557). มโนราห์ร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลปศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นันทพงศ์ ละอองวัลย์. (2555). วรรณกรรมพื้นบ้านเรื่อง “พระสุธน – มโนห์รา” กับอิทธิพลที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะการแสดงในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2519). ตำนานการละเล่นและภาษาชาวใต้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์

พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ. (2551). หลักการแสดงของนางมโนห์รา ในละครชาตรีเรื่อง มโนห์รา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2559). อโยธยาศรีรามเทพนครบวรทวารวดี มรดกความทรงจำแห่งสยามประเทศ (เล่ม 2). กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยอิสระประวัติศาสตร์ไทย.

วรรณิกา นาโสก. (2551). พัฒนาการฟ้อนกลองตุ้ม อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายสวรรค์ ขยันยิ่ง.(2543). พระราชชายา เจ้าดารารัศมี กับนาฏยศิลป์ล้านนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สวภา เวชสุรักษ์. (2547). หลักนาฏยประดิษฐ์ของท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สรายุทธ อ่องแสงคุณ. (2550). ฟ้อนเล็บ: คณะช่างฟ้อนอาวุโสวัดสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2477. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อักษราวดี ปัทมสันติวงศ์. (2557). การสร้างสรรค์การแสดง ชุด รําซัดชาตรีราวมสมัย. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2020