การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน : ข้อสังเกตบางประการตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562
คำสำคัญ:
การไกล่เกลี่ย, การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชุมชน, การระงับข้อพิพาททางเลือกบทคัดย่อ
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นการระงับข้อพิพาททางเลือก และเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลบังคับทั้งฉบับเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 แล้วในพระราชบัญญัตินี้กำหนดประเภทของข้อพิพาทที่สามารถใช้วิธีการไกล่เกลี่ยได้โดยต้องเป็นข้อพิพาททางแพ่ง ที่มีทุนทรัพย์ไม่มากนัก และข้อพิพาททางอาญาบางประเภทกำหนดเป็นกฎหมายกลาง พร้อมทั้งเพิ่มเติมการระงับข้อพิพาทภาคประชาชน จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการลด ขจัด หรือยุติความขัดแย้งที่มีต่อกันระหว่างคนในชุมชน ในขอบเขตของพื้นที่มีความสัมพันธ์มีความใกล้ชิดกัน ในระดับของหมู่บ้านและระดับตำบล โดยไม่จำเป็นต้องนำความขัดแย้งทางแพ่งหรือข้อพิพาททางอาญาที่มีความเสียหายเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจเป็นความผิดลหุโทษที่มีโทษปรับ รวมทั้งการกระทำความผิดทางอาญาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทางร่างกายหรือจิตใจของผู้เสียหายไม่มากนัก เพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง และทางอาญาอย่างเป็นทางการ โดยความเสียหายนั้นสามารถที่จะคิดเป็นจำนวนเงินหรือสิ่งของเพื่อทดแทน เยียวยาเพื่อเป็นการชดใช้ได้ ก็จะเป็นเรื่องดีต่อการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นของคนในชุมชน อย่างไรก็ดีการระงับข้อพิพาทดังกล่าว คู่กรณีจะต้องให้ความยินยอมในการระงับข้อพิพาท ผลที่ได้จาการระงับข้อพิพาทโดยวิธีนี้ทำให้คดีขึ้นสู่ศาลมีจำนวนลดน้อยลง ลดปัญหาความขัดแย้ง เกิดความสมานฉันท์ขึ้นในสังคม ลดงบประมาณแผ่นดิน และเสริมสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข
References
กรมคุมประพฤติ. (2550). คู่มือการปฏิบัติงานคุมประพฤติ เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา. กรุงเทพฯ: กรมคุมประพฤติ
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. (2562). เอกสารแนวทางการปฏิบัติงานตามกฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน (สำหรับศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน (นำร่อง) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
โกเมศ สุบงกช และไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล. (2561). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 11(3), หน้า 31-35.
เกษม สรศักดิ์เกษม. (2551). เช่านา. ใน สรวิศ ลิมปรังษี (บ.ก.), ความรู้กฎหมายแพ่งสำหรับการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (หน้า 35-41), กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
สุพิศ ปราณีตพลกรัง. (2562). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามกฎหมายใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.
ทนัทรยา ธีรัชธชาโชติ. (2557). การไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทโดยยุติธรรมชุมชน. วารสารนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์, 3(1), หน้า 111-128.
ปรัชญา อยู่ประเสริฐ. (2560). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยอาสาสมัครไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน. ใน ณัฐนันท์ คุณเงิน (บ.ก.). การจัดการความขัดแย้ง (หน้า 249-262). กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นท์.
ราชกิจจานุเบกษา. (2553, กันยายน 7). กฎกระทรวงว่าด้วยการไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษทางอาญา พ.ศ. 2553.
ราชกิจจานุเบกษา. (2554, ตุลาคม 7). ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2554.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562, พฤษภาคม 22). พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562,ธันวาคม 3). ระเบียบกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน พ.ศ. 2562.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562, สิงหาคม 30). ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562.
ลาวัลย์ นาคดิลก และสัญญา เคณาภูมิ. (2560). แนวคิดการไกล่เกลี่ยเพื่อยุติข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพิจารณาคดีของศาล. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(2),หน้า 61-72.
สำนักงานศาลยุติธรรม. (2554, ตุลาคม). คู่มือการจัดระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. 2554.
สำนักระงับข้อพิพาท. (2547). รายงานการวิจัยเรื่อง การปฏิบัติงานของอาสาสมัครไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน : ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.
อุดม รัฐอมฤต. (2548). รายงานวิจัยเรื่องบทบาทของอัยการในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)