ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการสังคมของเทศบาลสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • พิมพงา เพ็งนาเรนทร์ สาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, ประสิทธิภาพ, สวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ 2) ศึกษาปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลเชิงบวก 3) เพื่อศึกษาปัจจัยค้ำจุนที่มีอิทธิพลเชิงบวก 4) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล และ 5) เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อสนับสนุนความสัมพันธ์ของโมเดลกับกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้บริหารเทศบาลจำนวน 330 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพกับตัวแทนผู้สูงอายุและผู้บริหารเทศบาล จำนวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพ ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยจูงใจด้านความก้าวหน้า ปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในงาน ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทนมีผลต่อประสิทธิภาพการจัดสวัสดิการสังคมจึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย เทศบาลควรเพิ่มปัจจัยจูงใจในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ในด้านความก้าวหน้า ส่วนปัจจัยค้ำจุนควรเพิ่มในด้านความมั่นคงในงาน ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน

References

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2547). ทฤษฎีวิพากษ์ในนโยบายและการวางแผนสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี สร้างสวัสดิการสังคมไทยฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2550-2554). สืบค้นจาก http://www.m-society.go.th/article_attach/8428/8771.pdf

นารีรัตน์ จิตรมนตรี และสาวิตรี ทยานศิลป์. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนเขตเมืองและกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

สมภพ แสงจันทร์. (2555). ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่สัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 2(2), หน้า 32-38.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). ข้อมูลสถิตที่สำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุ (จากสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย : พ.ศ. 2562). สืบค้นจาก http://www.oppo.opp.go.th/info/StatP_290457.pdf

Buchanan, B. (1974). Building organizational commitment: The socialization of managers in work organizations. Administrative Science Quarterly, 19(4), pp. 533-546.

Chen, Xin. (2003). Coordinating Inventory Control and Pricing Strategies. Operation Research, 52(6), pp. 887-896.

Dunham, R.B., Gube, J.A., & Castaneda, M.B. (1994). Organizational commitment: The utility of an integrative definition. Journal of Applied Psychology, 79(3), pp. 370-380.

Encyclopedia Britannica. (2007). The New Encyclopedia Britannica (16th ed.). Chicago: Encyclopedia Britannica.

Herzberg, F. et al. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Leggatt, S., & Dwyer, J. (2003). Factors supporting high performance in health care organizations. Australia: National Institute of Clinical Studies.

Maslow, A.H. (1970). A theory of human motivation. in Heckmann, J.L. Jr. & Huneryager, S.G. (Eds), Human Relation in Management. Cincinnate: South.

Salleh, M.Z.M., Said, A.M., Bakar, E.A., Ali, A.M., & Zakaria, I. (2016). Gender differences among hotel guest towards dissatisfaction with hotel services in Kuala Lumpur. Procedia Economics and Finance, 37, pp. 27-32.

Steers, R.M. (1977). Antecedemts and outcomes of organization commitment. Administrative Science Quartery, 22(1), pp. 46-56.

Taro Yamane (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Xu, J. (2005). Mining static and dynamic structural patterns in networks for knowledge management: A computational frame work and case studies. Unpublished doctoral’s dissertation, The University of Arizona.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2020