การเสริมสร้างความรู้ด้านกรรมวาจก โดยใช้บทเรียนเสริมผ่าน Google Classroom

ผู้แต่ง

  • ชาคร ชีวาเกียรติยิ่งยง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สิงห์คำ รักป่า คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

กรรมวาจก, ชุดสื่อการสอน, กูเกิ้ลคลาสรูม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของบทเรียนเสริมเรื่อง กรรมวาจก (passive voice) ผ่าน Google Classroom และเพื่อศึกษาทัศนคติของนิสิตต่อบทเรียนเสริม เรื่อง passive voice ผ่าน Google Classroom กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 28 คน ซึ่งลงทะเบียนรายวิชาประโยคภาษาอังกฤษ (english sentences) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 คัดเลือกโดยวิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และบทเรียนเสริมเรื่องกรรมวาจก ใช้สถิติเชิงพรรณาและ ค่า t–test และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าบทเรียนเสริม เรื่องกรรมวาจก ผ่าน Google Classroom สามารถเสริมสร้างความรู้ด้าน กรรมวาจก ของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 อีกทั้งบทเรียนเสริมยังมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ E1/E2 = 80/80 จากผลการวิจัยได้ค่า E1/E2 = 81.28/82.60 และยัง พบว่า ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อบทเรียนเสริมผ่าน Google Classroom

References

Abdulsata, P. (2000). An Error Analysis of Srinakharinwirot University Second Year English Major Students’ Compositions. Unpublished master’s thesis, Srinakharinwirot University.

Aisoh & Mahdee (2018). Google Classroom Application in Learning Development and Responsibilities Behaviors of Mathayom 1 Students, Room 10, Pattani Benjamarachutit School. 6th Active Learning National Conference for Thailand 4.0. Walailak University. (pp. 421-430). Nakhon Si Thammarat: Walailak University.

Celce-Murcia, M. (1991). Language and communication: A time for equilibrium and Integration. In J. E. Alatis (Ed.), Georgetown University Round Table on Language and Linguistics,Washington, DC: Georgetown University Press.

Choomtong, D. (2009). A Case Study of Learning English Passive Voice: Difficulties and Learning Strategies. Retrieved from www.e-manage.mju.ac.th /openFile.aspx?id=MTA0MjIw

Hinkel. (2004). Tense, aspect and the passive voice in L1 and L2 academic texts. Language Teaching Research. 8(1), pp. 5-29.

Lekpoonkrid, C. (2016). Active and Passive Voices through Concept Attainment Model (CAM) : a Case of Mathayom 1 Students. Liberal Arts Journal, Ubonratchathani University, 8(2), pp. 91-118.

Li, C.N., & Thomson, S.A. (1976). Subject and Topic: A New Typology of Language. in Chares N. Li (ed.). Subject and Topic. New York: Academic Press.

Richards, J.C., Gallo, P.B., & Renandya, W.A. (2001). Exploring teachers’ beliefs and the processes of change. Retrieved from http://www.professorjackrichards.com/pdfs/exploring-teacher-change.pdf

Somphong, M. (2013). An Analysis of Errors in Passive Sentence Structures by Thai EFL University Students. Nakhon Si Thammarat: Rajamangala University of Technology Srivijaya.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-08-2021