การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวุฒิวัยและความพร้อมในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงานในชุมชน

ผู้แต่ง

  • นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

วุฒิวัย, ความพร้อมในการเรียนรู้, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วุฒิวัยของผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงานในชุมชน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 2) ความพร้อมในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงานในชุมชน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างวุฒิวัยและความพร้อมในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงานในชุมชน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ จำนวน 370 ฉบับ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงานในชุมชน สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ, x̅ , S.D. การวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติตนของผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงานในชุมชน ในภาพรวมมีภาวะวุฒิวัย อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติตนของผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงานในชุมชน อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านสุขภาพ รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วม สังคมและชุมชน และด้านความมั่นคง ตามลำดับ 2) ความพร้อมในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงานในชุมชน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ในภาพรวมมีการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความพร้อมในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ที่ปฏิบัติงาน ในชุมชน อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านความพร้อมเชิงประสบการณ์การเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านความพร้อม เวลา และการเห็นประโยชน์การเรียนรู้ และด้านความพร้อมในการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (ผู้สูงอายุ) ตามลำดับ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างวุฒิวัยและความพร้อมในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงานในชุมชน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างวุฒิวัยกับความพร้อมในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่ปฏิบัติงานในชุมชน ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูงซึ่งสอดคล้องกันสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่ พบว่ามีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับสูง โดยคู่ที่มีความสัมพันธ์กันกับความพร้อมในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ด้านความพร้อมและประโยชน์การเรียนรู้ ด้านความพร้อมในการเรียนรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ และด้านความพร้อมในการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน และมีความสัมพันธ์กันมาก อยู่ในระดับสูง คือ วุฒิวัยด้าน ความมั่นคง และวุฒิวัยด้านการมีส่วนร่วมสังคมและชุมชน ส่วนคู่ที่มีความสัมพันธ์น้อยสุด อยู่ในระดับ ปานกลาง คือ ด้านสุขภาพ

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/download/laws/law_th_20152309144546_1.pdf

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, (2559). ข้อมูลการสำรวจประชากรปี 2559. สืบค้นจาก http://law.m-society.go.th/law2016/law/type_list/28

กวีศุภณิฐ วิกรมวยากรม์. (2559). การแลกเปลี่ยนเรียนรู้: หนึ่งในจุดสำคัญเพื่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. สืบค้นจาก http://journal.rmutto.ac.th/template/design/file_article/article.420pdf.

กัญจนา สาเอี่ยม. (2562). บทความ ตรวจสุขภาพประจำปี สิ่งดี ๆ สำหรับผู้สูงอายุ.สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/7371

ชลกร ศิรวรรธนะ. (2556). การยอมรับตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว การมีส่วนร่วมในชุมชน กับ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเคหะชุมชนดินแดง กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 39(2), หน้า 80-94.

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา และคณะ. (2550). สุขภาพคนไทย 2550. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล รวมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสรางเสริมสุขภาพ (สสส.)

ประไพ กิตติบุญถวัล. (2561). การสะท้อนคิด: จากประสบการณ์ที่ล้ำค่าสู่การเปลี่ยนแปลง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(1), หน้า 102-110.

ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง : กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1), หน้า 8-13.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2560). แนะแนวการศึกษา. สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th/Thai/Offices/Oes/Guide/article/learn_01.html

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2558). Population and Society 2015: Population and Social Diversity in Thailand as of 2015. วารสารสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 16(1), หน้า 12.

สิริวัลลิ์ พฤกษาอุดมชัย. (2560). ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุตำบลดอนแฝก จังหวัดนครปฐม. E-Journal, Silpakorn University, 10(1), หน้า 1445.

สุกัญญา วชิรเพชรปราณ. (2553). บทบาทผู้สูงอายุที่อยู่กับครอบครัวอย่างมีสุขในชุมชนกึ่งเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 16(1), หน้า 50-59.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจประชากรในประเทศไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อรวรรณ น้อยวัฒน์. (2555). สุขภาพกับคุณภาพชีวิต. สืบค้นจาก http://www.stuo.ac.th/Schoo/S/Shs/booklet/book5_3/Pbhealth.html

อำไพรัตน์ อักษรพรหม และกฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์. (2561). การได้รับและการเข้าถึงสวัสดิการสำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 26(2), หน้า 41-58.

John W. Best. (1981). Research in Education, (4th ed.). New Jersey: Prentice – Hall Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2020