การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทางสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • วิภารัศมิ์ พรพฤฒิพันธุ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • สดุดี คำมี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • จิรโรจน์ บุญราช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

กระบวนการเรียนรู้, สุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม (mixed research method) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ และ 2) ศึกษาการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทางสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านโคก จำนวน 273 คน และคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านโคก จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ลักษณะคือ 1) แบบสอบถาม และ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 1) ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติบรรยาย 2) การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านโคก มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทางสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านโคก คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทางสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเป็นกระบวนการพัฒนาที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ชมรมผู้สูงอายุ และตัวผู้สูงอายุเอง มีความจำเป็นต้องมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมให้กับผู้สูงอายุในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น เน้นการส่งเสริมสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของผู้สูงอายุเป็นสำคัญ เนื่องจากผู้สูงอายุจะมีอารมณ์ที่อ่อนไหวง่าย อีกทั้งต้องจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อดูพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีการแนะนำให้ผู้สูงอายุเห็นถึงความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุที่มาร่วมกิจกรรมกับชมรมผู้สูงอายุจะเป็นกลุ่มคนเดิม ๆ นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโคกชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านโคก ควรเน้นการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวม เน้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืนต่อไป

References

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ และวรากร เกรียงไกรศักดา. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), หน้า 81-97.

จารีย์ ปิ่นทอง. (2561). สังคมสูงวัยกับความท้าทายของตลาดแรงงานไทย. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/AgePeriodCohort.pdf

พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว และรติพร ถึงฝั่ง. (2559). การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2), หน้า 94-109.

ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์ และยุวดี รอดจากภัย. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), หน้า 13-20

วรเมศม์ สุวรรณระดา และ รักชนก คชานุบาล. (2557). การขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว.(2557). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลคลอง ตำหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วาสนา สิทธิกัน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบล บ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริสุข นาคะเสนีย์. (2559). รายงานการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุใกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, สถาบันวิจัยแลพัฒนา.

สุวพิชชา ประกอบจันทร์ และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ในการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัย มหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 12 (ฉบับพิเศษ). หน้า 543-552.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. (2557). แนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุหลักสูตร 420 ชั่วโมง.กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Bloom, B.A. (1956). Taxonomy of Education Objective Handbook I: Cognitive Domain. New York: David Mc Kay Company.

United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Population Division. (2015). World Population Prospects: The 2015 Revision, DVD Edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-08-2020