อิริยาบถที่เหมาะสมของพิธีกรในงานการประชุมวิชาการ
คำสำคัญ:
อิริยาบถ, พิธีกร, การประชุมวิชาการบทคัดย่อ
อิริยาบถเป็นพฤติกรรมของบุคคลที่สะท้อนจากการสำนึกรู้โดยการแสดงออกที่เหมาะสมในบริบทที่แตกต่างกัน พิธีกรเป็นบุคคลที่ต้องคำนึงถึงอิริยาบถให้เหมาะสมกับงานที่ตนปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะและบรรยากาศของงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานการประชุมวิชาการซึ่งเป็นงานแบบพิธีการ พิธีกรไม่เพียงมีบทบาทและหน้าที่ประกาศให้ผู้เข้าร่วมงานการประชุมทราบข้อมูลทั่วไปของงานเท่านั้น หากยังต้องดำเนินงานให้เป็นไปตามกำหนดการอย่างราบรื่น โดยประสานกับบุคคลหลายฝ่าย เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือดำเนินงานต่อไปได้หากมีเหตุให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามกำหนดการ ทั้งคณะกรรมการจัดงานการประชุมมีคุณสมบัติเป็นบุคคลที่มีคุณวุฒิด้านการศึกษาและตำแหน่งทางวิชาการระดับสูงจากนอกสถาบันเจ้าภาพในงานการประชุมวิชาการระดับชาติ และจากต่างประเทศในงานการประชุมระดับนานาชาติ รวมถึงผู้เข้าร่วมงานเป็นบุคคลในแวดวงการศึกษาเพื่อนำเสนอผลงานวิชาการ และ/หรือเข้าร่วมฟังผลงานวิชาการของผู้นำเสนอปฏิเสธมิได้ว่าพิธีกรเป็นเสมือนตัวแทนหรือภาพลักษณ์ของเจ้าภาพงานการประชุมวิชาการ อิริยาบถของพิธีกรขณะปฏิบัติหน้าที่ในเบื้องหน้าของงานการประชุมวิชาการจึงควรแสดงออกอย่างสำรวม มีท่าทีสง่าผ่าเผย ทั้งการยืน การเดิน การนั่ง การใช้มือและแขน และการเคลื่อนไหวศีรษะและไหล่ขณะพูดประกาศบนเวที อันจะส่งผลให้อารมณ์ของผู้เข้าร่วมงานสอดคล้องกับบรรยากาศของงานด้านวิชาการอีกด้วย
References
กุณฑลีย์ ไวทยะวณิช. (2542). การฝึกพูดและภาษาไทย. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ฐนสจันทร์ วงศ์สุวรรณะ. (2547). การพูดเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: เทคนิค 19.
ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์. (2535). พูดได้ พูดเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต. (2541). หลักการพูด. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
บุรินทร์ รุจจนพันธุ์. (2557). แหล่งนำเสนอผลงานทางวิชาการ. สืบค้นจาก http://www.thaiall.com/blog/burin/6084/
มหาวิทยาลัยศรีปทุม. (2559). คู่มือการจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สมจิต ชีวปรีชา. (2535). วาทวิทยา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)