การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเซรามิกที่เป็นเอกลักษณ์ บ้านหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
คำสำคัญ:
เซรามิก, ของที่ระลึกบทคัดย่อ
โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ของระลึกเซรามิก ที่เป็นเอกลักษณ์บ้านหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเซรามิกประเภทต่าง ๆ 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ของระลึกเซรามิก ที่เป็นเอกลักษณ์บ้านหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง และ 3) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบของที่ระลึก ที่เป็นเอกลักษณ์บ้านหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเซรามิก ที่เป็นเอกลักษณ์บ้านหาดส้มแป้น จังหวัดระนอง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ในด้านความพึงพอใจ ต้นแบบชุดผลิตภัณฑ์บนโต๊ะอาหารนั้นได้รับความสนใจลวดลายอยู่ในระดับมากด้วยการนำดอกไม้ประจำจังหวัดระนอง ดอกโกมาชุมหรือเอื้องเงินหลวง มาเป็นสื่อความหมาย ผลิตภัณฑ์ชุดสปาอโรมา มีความพึงพอใจของต้นแบบในระดับมาก มีแนวคิดจากการนำรูปแบบของบ่อน้ำพุร้อน แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดระนองมาเป็นแนวคิดในการผลิต ด้านประติมากรรมของที่ระลึกมีความพึงพอใจในการระดับปานกลาง การสื่อความหมายของรูปแบบผลิตภัณฑ์โดยนำสถานที่สำคัญพระราชวังรัตน์รังสรรค์ อาชีพในอดีตคนร่อนแร่ของชาวบ้าน บ่อน้ำพุร้อนและรถโบราณที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดระนอง มาจัดเป็นองค์ประกอบของงานประติมากรรม และผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน มีความพึงพอใจระดับมากได้แนวคิดจากการนำรูปแบบสัตว์ในท้องทะเลมาจัดองค์ประกอบของงานผลิตภัณฑ์
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2555). เที่ยวพระราชวังรัตนสังสรรค์(จำลอง). สืบค้นจาก https://travel.thaiza.com/guide/242913/
ชลัยศรีสุข(2555).บ้านหาดส้มแป้นหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซรามิกต้นแบบ. สืบค้นจาก http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2555_190_60_p33-35.pdf
ทวีทอง หงส์วิวัฒน์(2561). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Cashew NutsSTORY BY. สืบค้นจาก https://krua.co/current/public/food-story/food-view-by-thavitong/81
ประกิต บัวบุศย์.(2528). เครื่องดินเผาและเครื่องเคลือบกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมของสยาม. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองรัตน์.
ศศิวิมล หมวกบุญแก้ว. (2015). ดอกไม้ประจำจังหวัดระนอง. สืบค้นจาก http://sasiwimonoil.blogspot.com/2015/10/blog-post_82.html
สุจิตต์วงศ์เทศ. (2528). เครื่องดินเผาและเครื่องเคลือบกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมสยาม. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองรัตน์.
สุจินต์ เพิ่มพูล.(2555). การพัฒนาใช้ฝุ่นดินเหลือใช้ในงานเซรามิกเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุวิทย์อินทิพย์. (2555). การพัฒนางานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาในเอกลักษณ์ของชุมชนมอญปาเกร็ดเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)