การเจริญอานาปานสติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์แห่งการปฏิบัติธรรม อันนำความพัฒนายั่งยืนสู่มหาชน
บทคัดย่อ
ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันเกิดจากขาดการฝึกฝนด้านจิตใจนั้นวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อวิเคราะห์ นัยและความสำคัญของการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน 2) เพื่อวิเคราะห์ อิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์แห่งการปฏิบัติธรรม ตามแนวทางที่ถูกต้องของการเจริญสมถและการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานและ 3) เพื่อบูรณาการองค์ความรู้และการสร้างนวัตกรรมการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน เข้าด้วยกัน สู่การขจัดปัญหาทุกประเด็นในสังคม (ทางแห่งความพ้นทุกข์) วิธีดำเนินการวิจัยเชิงเอกสาร (documentary research) โดยเน้นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ขอบเขตความรู้ ด้านเนื้อหา การเจริญสมถกัมมัฏฐาน สมถกรรมฐาน ผลการวิจัยพบว่า มีการสร้างรูปแบบนวัตกรรมองค์ความรู้ใหม่และผลกระทบจากการบรรลุธรรมด้วยอานาปานสติ กล่าวคือ 1) รูปแบบการเจริญมหาสติปัญฐานและผลกระทบจากอนุปัสสนา 7 2) รูปแบบนัยและความสำคัญของการเจริญสมถกัมมัฏฐาน 3) รูปแบบอิทธิพลของอานาปานสติต่อผลสัมฤทธิ์แห่งการปฏิบัติธรรม ตามแนวทางของการเจริญสมถกัมมัฏฐาน 4) รูปแบบบูรณาการองค์ความรู้และการสร้างนวัตกรรมการเจริญสมถกัมมัฏฐาน สหสัมพันธ์ (correlation) ความเชื่อมโยงระหว่างวิปัสสนาวิสุทธิ 7 และไตรสิกขา 5) รูปแบบการเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ระหว่าง องค์ความรู้ใหม่ธรรมวิจารณ์ปรมัตถปฏิปทา และข้อปฏิบัติให้ลุถึงประโยชน์อย่างยิ่งอย่างสูงสุด และ6) รูปแบบการบูรณาการองค์ความรู้ใหม่ “อานาปานสติ” ผสมผสานอยู่ใน “โพธิปักขิยธรรม 37” ในการเจริญสมถและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ทำให้ได้รับ “องค์ความรู้ใหม่” จากการเจริญอานาปานสติอีกมากมาย รวมทั้ง “ปัจจัยธรรม” ต่าง ๆ ที่พึ่งพิงอิงอาศัยกัน จนประสบความสำเร็จหลายขั้นตอนตามลำดับ จากการปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานสู่การบรรลุธรรมในที่สุด
References
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2549). สมาธิและวิปัสสนาตามธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). (2548). คำถาม-คำตอบ เรื่องวิปัสสนากรรมฐาน. (พิมพ์ครั้ง ที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). (2548). วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 1 เล่ม 2 ว่าด้วยวิปัสสนากรรมฐานทั่วไป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). (2548). วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 2 ว่าด้วยมหาสติปัฏฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). (2548). วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 1 เล่ม 1 ว่าด้วยวิปัสสนากรรมฐานทั่วไป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). (2546). หลักปฏิบัติ สมถะและวิปัสสนากรรมฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สหธรรมิก.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). (2538). ความเป็นมาของวิปัสสนากรรมฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2559). มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยเล่ม 1-45. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2555). มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม 1-5. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการแผนกตำรา, มหามกุฎราชวิทยาลัย.
ว. วชิรเมธี. (2552). เคล็ดลับดับทุกข์. กรุงเทพฯ: รักลูกกรุ๊ป.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)