การศึกษาประติมากรรมทุรคามหิษาสุรมรรทินี สมัยอิทธิพลศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

คามหิษาสุรมรรทินี, ศิลปะเขมรในประเทศไทย, ประติมานวิทยา

บทคัดย่อ

ทุรคามหิษาสุรมรรทินีเป็นความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับพระอุมาซึ่งเป็นเทวีที่สำคัญในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ปัจจุบันนับถือกันว่าพระองค์เป็นชายาของพระศิวะซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู ไศวนิกาย ความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่ทุรคาปางมหิษาสุรมรรทินีเริ่มปรากฏในวัฒนธรรมอินเดียสมัยหลังพระเวทในฐานะเทวีท้องถิ่นผู้ประทานชัยชนะ สมัยหลังพระเวทจนถึงสมัยคุปตะ ความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่ทุรคาถูกรวมเข้ากับพระอุมาและถูกยกฐานะขึ้นเป็นชายาหรือศักติของพระศิวะ ทุรคามหิษาสุรมรรทินีจึงเป็นปางดุร้ายภาคหนึ่งของพระอุมา เมื่ออารยธรรมอินเดียได้แพร่มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการบูชาพระองค์โดยปรากฏเป็นงานศิลปกรรมในดินแดนต่าง ๆ ที่รับอารยธรรมจากอินเดีย เช่น ชวา เขมร ฯลฯ ในดินแดนไทย โดยเฉพาะสมัยอิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทยพบประติมากรรมทุรคามหิษา สุรมรรทินีอย่างน้อย 3 ชิ้น ได้แก่ 1) ประติมากรรมจากเมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี 2) สมบัติส่วนพระองค์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล และ 3) ทับหลังจากปราสาทเมืองแขก จังหวัดนครราชสีมา ประติมากรรมทั้ง 3 ชิ้นมีรูปแบบทางศิลปกรรมที่แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดีย ศิลปะเขมร และศิลปะชวา

References

บำรุง คำเอก. (2550). รายงานการวิจัยเรื่องอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2529). จารึกในประเทศไทย เล่มที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กรมศิลปากร. (2548). โบราณคดีเมืองศรีมโหสถ. กรุงเทพฯ: ทริปเปิล บีเพรส.

สมิทธิ ศิริภัทร์ และมยุรี วีระประเสริฐ. (2533). ทับหลัง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2511). มหิษามรรทินี. โบราณคดี, 1(4), หน้า 9–14.

สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2547). ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซนเตอร์.

แสงรวี หอมทิพย์. (2529). การศึกษาประติมากรรมนูนต่ำเทพีมหิษาสุรมรรทินี ที่โบราณสถานหลายเลข 22 ตำบลโคกปีบ อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) ภาควิชาโบราณคดี, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Avalokitesvara Rachgia. (2014). Retrieved from http://fr.academic.ru/pictures/frwiki/71/Guimet_5887_Avalokiteshvara.jpg

Bucker, E.C., & Latchford, D. (2011). Khmer bronzes : new interpretations of the past. Chicago: Art Media Resources.

Cœdès, G. (1954). Piédroits de Pràsàt Tẵp Siem (K. 234). in Inscriptions du Cambodge vol. VI (pp.234-235). Hanoi: Imprimerie d'Extrême-Orient.

Durga-Mahisasuramardini. Retrieved from http://www.ebanglapedia.com/en/article.php?id=2534&title=Iconography-(Stone-Sculptures)

Durga, lieu hue, Saigon museum. (2014) Retrieved from http://www.newyorksocialdiary.com/legacy /i/partypictures/02_15_10/jk/IMG_7137.jpg

Goddess Durga, Orissa. (2014). Retrieved from: http://jyrichter.us/travel/India2010/Orissa/Orissa.htm

Goddess Durga Slaying the Buffalo Demon, Khmer art. (2014). Retrieved from http://www.artic.edu/aic/collections/artwork/144401

Mahisamardini, terracotta, Sarsabaz. (2014). Retrieved from http://www.banglapedia.org/HT/I_0014.htm

Mahisasur Mardini Badami cave. (2014). Retrieved from http:// www.shadowsgalore.com/2012/06 /badami-cave-temples/

Majumdar, R.C. (1953). Sdok Kok Thom Stele Inscription of Udayāditya-varman. in Inscription of Kambuja (pp.368-369). Calcutta: The Asiatic Society.

Pal, Pratapaditya. (1986). Indian Sculpture: Circa 500 B.C.-A.D. 700 Volume 1. California: University of California press.

Rao, T.A. Gopinatha. (1968). Elements of Hindu Iconography Vol II part I. New Delhi: Motital Banarsidass.

Roy, A. (2014). The lion of Durga is a gift from a Greek goddess. Retrieved from http://wise-planet.blogspot.com/2009/02/lion-of-goddess-durga.html

Shiha, B.C. (1983). Hinduism and symbol worship. Delhi: Agam Kala Prakashan.

Simmons, C. (2008). She who slays the buffalo-demon divinity, identity, and authority in iconography of Mahisa Suramardini. Unpublished master’s thesis, Florida State University.

Smith, H. D. & Chary, M. N. (1991). Handbook of Hindu gods, goddesses and saints. Delhi: Sundeep Prakashan.

Srivastava, B. (1978). Iconography of Sakti: A Study base on Sritattvanidhi. Varanasi: Chaukhambha Orientalia.

Srivastava, M.C.P. (1979). Mother Goddess in Indian Art Archaeology & Literature. New Delhi: Printed India.

Thillai Nataraja Temple in Chidambaram. (2014). Retrieved from http://aftertravel.joydaz.ca/?p=320

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2019