ถ้อยคำนัยผกผันในหนังสือพิมพ์ : บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
คำสำคัญ:
ถ้อยคำนัยผกผัน, หนังสือพิมพ์, สงครามโลกครั้งที่ 1, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะถ้อยคำนัยผกผันที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยศึกษาจากบทพระราชนิพนธ์ จำนวน 23 องค์ ที่ทรงพระกรุณาพระราชทานไปพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ระหว่างเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช 2460 จนถึงเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2462 โดยใช้กรอบแนวคิดถ้อยคำนัยผกผัน ของ ณัฐพร พานโพธิ์ทอง (2556) ผลการศึกษาพบว่า มีการใช้ถ้อยคำนัยผกผันในหนังสือพิมพ์ บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จำนวน 68 ถ้อยคำ แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายขัดแย้งกับถ้อยคำใกล้เคียงกัน จำนวน 38 ถ้อยคำ ซึ่งปรากฏมากที่สุด 2) การใช้ถ้อยคำแบบเสียงสะท้อนกลับ จำนวน 17 ถ้อยคำ 3) การกล่าวเน้นให้เกินจริง จำนวน 9 ถ้อยคำ และ 4) การกล่าวถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือไม่สมเหตุสมผล จำนวน 4 ถ้อยคำ
References
จันทิมา อังคพนิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากย์ตามแนวภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทพ บุญตานนท์. (2556). พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการสร้างภาพลักษณ์ทางทหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
King Vajiravudh (2545ก). สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า: พระราชประวัติ 45 ปีของการเปลี่ยนแปลแห่งยุคสมัย (เล่ม 1). กรุงเทพฯ: สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์.
King Vajiravudh (2545ข). สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า: บทพระราชนิพนธ์และปรัชญาชีวิต พระปรีชาชาญเลิศล้ำเกินกำหนด (เล่ม 3). กรุงเทพฯ: สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์.
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2560). 100 ปี สงครามโลกครั้งที่ 1: พระราชนิพนธ์ อันเนื่องด้วยงานพระราชสงคราม ณ ทวีปยุโรป เล่ม 6. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์.
รัมภ์รดา กองช้าง. (2560). กลวิธีการตอบถ้อยคำนัยผกผันในภาษาไทย: กรณีศึกษาที่คู่สนทนามีสถานภาพเท่ากัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชกิจจานุเบกษา. (2460). พระบรมราชโองการ ประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการว่าด้วย การสงครามซึ่งมีต่อประเทศเยอรมนีและออสเตรียฮังการี. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/A/333.PDF
ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. (2560). ‘เหี้ย’ กลายเป็นคำด่า เพราะอาการคลั่งชาติ ในลัทธิเผด็จการท่านผู้นำ. สืบค้นจาก http://www.museumthailand.com/topic.php?p=257
สเตฟาน เฮลล์ (2560). สยามกับมหาสงครามโลกครั้งที่ 1 ประวัติศาสตร์สากล. (จุฑามาส อรุณวรกุล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊คส์.
อรกัญญา อนันต์ทรัพย์สุข. (2559). ลักษณะของถ้อยคำนัยผกผัน (verbal irony) ในการแสดงเดี่ยวไมโครโฟนครั้งที่ 7 – 10 ของอุดม แต้พานิช. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)