การศึกษาสภาพการบริหารงานขององค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, ความพึงพอใจ, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และ 2) ศึกษาเปรียบเทียบความความคิดเห็นของข้าราชการต่อการบริหารงานของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการและพนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 186 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่าบุคลากรมีระดับคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจและแรงจูงใจต่อการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก(x̅= 3.94) โดยพบว่า ค่าเฉลี่ยมิติด้านการบริหาร อยู่ระดับมากที่สุด (x̅= 3.96) รองลงมา คือ มิติด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (x̅= 3.95) มิติด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน (x̅= 3.93) และ มิติด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (x̅= 3.92) ตามลำดับ การเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจและแรงจูงใจของข้าราชการต่อการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ที่มีต่อผู้บริหารท้องถิ่น พบว่า บุคลากรที่มีเพศ ระดับการศึกษา และตำแหน่งที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความพึงพอใจและแรงจูงใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05 ส่วนบุคลากรมีอายุ ระยะเวลาการทำงาน และด้านรายได้ต่อเดือนที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความพึงพอใจและแรงจูงใจในการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นที่ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะต่อการเสริมแรงสร้างความพึงพอใจและแรงจูงใจต่อข้าราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ คือ การกำหนดนโยบายที่ชัดเจนและสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษร การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ การประเมินผลที่เน้นผลงานเป็นหลักและการเสริมสร้างแรงจูงใจที่หลายรูปแบบ
References
บุษบา เชิดชู. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. ปัญหาพิเศษหลักสูตรรัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปฐมวงศ์ สีหาเสนา. (2557). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิบูล ทีปะปาล (2550). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
วาสนา พัฒนานนท์ชัย. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วีรศักดิ์ เครือเทพ. (2560). แก่นสาระการคลังท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพงศ์ เกษมสิน. (2523). การบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุรีย์พร พึงไชย. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. สืบค้นจาก http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4598
อ้อมอารีย์ ยี่วาศรี. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการปกครองที่ทำการปกครองอำเภอในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Harrell, T.W. (1972). Industrial psychology. New York: Holt Rinehart and Winston.
Herzberg, F. (1959). The motivation to work. New York: Wiley.
Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. (2nd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)