การศึกษากลวิธีการแปลชื่อร้านค้าภาษาจีนเป็นภาษาไทย ในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชานนท์ เชาว์จิรพันธุ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • นพธร ปัจจัยคุณธรรม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ชื่อร้านค้าภาษาจีน, กลวิธีการแปลชื่อร้านค้า, ชาวไทยเชื้อสายจีน, ภาษาถิ่นและสำเนียงถิ่น, เขตสาทรกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การศึกษากลวิธีการแปลชื่อร้านค้าภาษาจีนเป็นภาษาไทย ในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการแปลชื่อร้านค้าภาษาจีนเป็นภาษาไทย ในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลชื่อป้ายร้านค้าในเขตสาทร ที่เขียนเป็นภาษาจีนและภาษาไทย จำนวน 115 ชื่อร้านค้า พบวิธีการแปลป้ายชื่อ ได้แก่ 1) กลวิธีการตั้งชื่อใหม่ เป็นกลวิธีที่นิยมประยุกต์ใช้มากที่สุด กลวิธีนี้เน้นการตั้งชื่อใหม่โดยเนื้อหาและความหมายอาจเกี่ยวข้องหรือต่างกันเพื่อการหลีกเลี่ยงออกเสียงของภาษาผิด 2) กลวิธีการทับศัพท์ เป็นกลวิธีที่พบรองลงมาจากกลวิธีการตั้งชื่อใหม่ เป็นการถอดเสียงแล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ในภาษาแปลคือภาษาไทย ไม่ได้เน้นย้ำในเรื่องการตีความหมายเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจถึงความหมายอย่างถ่องแท้ แต่เน้นการถ่ายทอดความเป็นเอกลักษณ์ของชื่อร้านค้าจีนได้อย่างเต็มรูปแบบ 3) กลวิธีการแปลความเป็นการแปลแบบตรงตัว หรือการแปลแบบคำต่อคำ โดยกลวิธีนี้ต้องอาศัยทักษะ ทางภาษาทั้งภาษาจีนและภาษาไทย เพื่อหาความเชื่อมโยงทางด้านการแปล กลวิธีนี้มุ่งเน้นการเก็บรักษาความหมายการเคารพในต้นฉบับของชื่อร้านค้า ข้อค้นพบจากการศึกษากลวิธีการแปลชื่อร้านค้าภาษาจีนเป็นภาษาไทยของชาวไทยเชื้อสายจีน ในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร ศึกษาจากชื่อธุรกิจร้านค้าภาษาจีนแปลเป็นภาษาไทยและจัดแยกประเภทรูปแบบการแปลชื่อ วิธีการแปลและวิเคราะห์ภาษาแปลปลายทางสะท้อนค่านิยมของภาษาถิ่นและสำเนียงถิ่น โดยกลวิธีการแปลความนั้นนอกจากจะยังมีความเชื่อมโยงทั้งทางด้านการแปลแล้ว ยังแสดงให้เห็นความตั้งใจอย่างแท้จริงของผู้ตั้งชื่อ โดยยังเน้นความถูกต้องทางการแปล เคารพในภาษาต้นฉบับ

References

ณัฐพล แจ่มจันทร์. (2557). ประวัติหอการค้าไทย-จีน. สืบค้นจาก https://www.thaicc.org/about/th/ประวัติหอการค้าไทยจีน

นิธิวุฒิ ศรีบุญชัยชูสกุล. (2560). ป้ายยี่ห้อ ป้ายสำนัก จิตวิญญาณสำคัญแท้ของชาวจีน. สืบค้นจาก https://waymagazine.org/chinese_sign

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2559). การศึกษาปัญหาการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและแนวทาง การปรับตัวของอาจารย์ต่างชาติกับนักศึกษาไทย ในมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 10(2), หน้า 79-92.

เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2555). การสำรวจและศึกษาวิเคราะห์ชื่อร้านค้า ภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2), หน้า 59-89.

รัชนี โรจน์กุลธำรง. (2552). ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล: จากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เลอลักษณ์ แสงอัมพร และสุชาติ ทวีพรปฐมกุล. (2558). ความพึงพอใจของผู้เข้ารับบริการที่มีต่อศูนย์เยาวชนมิติใหม่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม, 1(1), หน้า 100-112.

วิไล ลิ่มถาวรานันต์. (2555). ชื่อร้านค้าภาษาจีนในประเทศไทย: แนวนิยมในการตั้งชื่อร้านค้าและบทบาททางสังคม. ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตสาธร. (2558). ข้อมูลทั่วไปของเขต. สืบค้นจาก http://www.bangkok.go.th/sathon/page/sub/4156/ข้อมูลทั่วไปของเขต

Catford, J. C. (1969). A linguistic theory of translation. (3rd ed.). London: Oxford University Press.

Eugene. (1964). Toward a Science of Translation. Leiden: E.J. Brill.

Larson, M. L. (1984). Meaning-based translation: A guide to cross-language equivalence. New York: University Press of America.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-08-2019