การจัดการความรู้เพื่อสืบสานศิลปะการแทงหยวกสกุลช่างเพชรบุรี
คำสำคัญ:
การจัดการความรู้, ศิลปะการแทงหยวก, สกุลช่างเพชรบุรีบทคัดย่อ
การจัดการความรู้เพื่อสืบสานศิลปะการแทงหยวกสกุลช่างเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบกระบวนการจัดการความรู้ศิลปะการแทงหยวกสกุลช่างเพชรบุรี 2) รวบรวมองค์ความรู้ศิลปะการแทงหยวกสกุลช่างเพชรบุรีให้เป็นระบบ และสกัดองค์ความรู้ศิลปะการแทงหยวกสกุลช่างเพชรบุรีที่มีความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ และดำเนินการเผยแพร่ผ่านสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม และ 3) สืบสานศิลปะการแทงหยวกสกุลช่างเพชรบุรีผ่านกระบวนการจัดการความรู้ โดยการจัดตั้งชุมชนแห่งการเรียนรู้ประสานกับเครือข่ายช่างแทงหยวกสกุลช่างเพชรบุรี และสกุลช่างอื่น ๆ ซึ่งผลของการออกแบบได้รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อสืบสานศิลปะการแทงหยวกสกุลช่างเมืองเพชรบุรี ประกอบด้วยกิจกรรมการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สกัดขุมความรู้ 2) สร้างสมุดบันทึกขุมความรู้ 3) เทคนิคถ่ายทอดต่อยอดขุมความรู้ 4) ร้อยเรียงเรื่องราวแก่นความรู้ 5) กลั่นกรองสู่ขุมความรู้ที่แท้จริง 6) จัดการสื่อสารขุมความรู้ และ 7) สืบสานพลังขุมความรู้ ผลจากการสร้างแก่นสาระให้เป็นองค์ความรู้ที่ได้ในขั้นสุดท้าย ประกอบด้วย 10 ประเด็น ได้แก่ 1) ความหมายของศิลปะการแทงหยวก 2) ประวัติความเป็นมาของศิลปะการแทงหยวกสกุลช่างเพชรบุรี 3) เอกลักษณ์ของศิลปะการแทงหยวกสกุลช่างเพชรบุรี 4) ลวดลายที่ใช้ในศิลปะการแทงหยวกสกุลช่างเพชรบุรี 5) ต้นกล้วยที่ใช้ในการแทงหยวก 6) วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแทงหยวก 7) พิธีไหว้ครูก่อนการแทงหยวก 8) ขั้นตอนกระบวนการแทงหยวก 9) เทคนิควิธีการที่สำคัญในการแทงหยวก และ 10) เส้นทางสู่การเป็นผู้สืบสานศิลปะการแทงหยวก
References
กรมศิลปากร. (2553). งานช่างพื้นถิ่น. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
ชูศักดิ์ ไทพาณิชย์. (2555). ศิลปะการแทงหยวก. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.
ปาริชาติ คุณปลื้ม และรัตยา โสวรรณปรีชา. (2559). การจัดการความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 12(6), หน้า 89-97.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี. (2552). เพชรบุรีเมืองงาม งามงานสกุลช่างเมืองเพชร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอ็นทีเอส พริ้นท์ติ้ง.
สุวรรณ เหรียญเสาวภาคย์ (2548). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.).
สุวิทย์ วงษ์บุญมาก. (2557). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมหินอ่อนพรานกระต่ายอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
เอกชัย พุมดวง. (2551). การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการเรียนรู้ในชุมชน. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 16(2), หน้า 94-104.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)